การตรวจสอบการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบเพกา

Main Article Content

สุจิตรา ยาหอม
จิตรสุดา กุลวัฒน์
เบญจพร บุราณรัตน์

บทคัดย่อ

เพกา (Oroxylum indicum) เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักกันเป็นอย่างดีที่พบว่ามีสารประกอบที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์อัลคาลอยด์แทนนินและเทอร์พีนอยด์เป็นต้น การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบใบเพกา โดยสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 4 ชนิดคือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตท เอทานอลและเมทานอล นำสารสกัดทั้งหมดมาศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, FRAP ตรวจสอบหาปริมาณฟีนอลิกปริมาณฟลาโวนอยด์ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu และ Aluminum chloride colorimetric ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเอทานอลจากใบเพกามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ท้ังการทดสอบด้วยวิธี DPPH (IC50 0.92±0.2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และ FRAP (111.91±3.02 มิลลิกรัม Fe2+ ต่อกรัมของสารสกัด) และมีปริมาณฟีนอลิกรวม (121.90±1.70 มิลลิกรัม GAE ต่อกรัมของสารสกัด) และฟลาโวนอยด์รวม (298.73±14.46 มิลลิกรัม RE ต่อกรัมของสารสกัด) สูงสุดเช่นกัน จากผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า เอทานอลเป็นตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดสารได้ดีที่สุด และสารสกัดเอทานอลออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดในทุกวิธีการทดสอบ ซึ่งสารสกัดเอทานอลจากใบเพกามีสารประกอบทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีจึงควรมีการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมยาต่อไป

Article Details

How to Cite
ยาหอม ส. ., กุลวัฒน์ จ. ., & บุราณรัตน์ เ. . (2022). การตรวจสอบการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบเพกา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 48(2), 200–207. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250093
บท
บทความวิจัย