ตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ

Main Article Content

วรางคณา เรียนสุทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 103 ค่า ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2561 จำนวน 96 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของบราวน์วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีฤดูกาลอย่างง่าย วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบบวก วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของวินเทอร์แบบคูณ และวิธีการพยากรณ์รวม ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน 7 ค่า นำมาใช้สำหรับการเปรียบเทียบความแม่นยำของตัวแบบพยากรณ์โดยใช้เกณฑ์ร้อยละค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วิธีที่มีความแม่นยำมากที่สุด คือ วิธีการพยากรณ์รวม

Article Details

How to Cite
เรียนสุทธิ์ ว. (2022). ตัวแบบสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 48(1), 156–165. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250083
บท
บทความวิจัย