การประยุกต์ใช้ถนนแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน: กรณีศึกษาถนนทางเข้าวัดแม่สาหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เวชสวรรค์ หล้ากาศ

Main Article Content

เวชสวรรค์ หล้ากาศ

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้ถนนแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชนเป็นการศึกษากระบวนการสร้างถนนแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยขยะพลาสติกที่ได้จากการคัดแยกภายในชุมชนวัดแม่สาหลวงและพื้นที่ข้างเคียง เพื่อนํามาออกแบบและกําหนดส่วนผสมเฉพาะงาน (Job Mix Formula) โดยใช้ขยะถุงพลาสติกที่ได้จากการคัดแยกมาผสมกับวัสดุมวลรวมคละและยางแอสฟัลต์ซีเมนต์ (AC 60 – 70) แล้วนําไปทําเป็นก้อนตัวอย่างเพื่อทดสอบหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการโดยวิธีมาร์แชลล์ (Marshall Test) แล้วนําส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมทางหลวงที่ ทล.-ม. 408/2532 ไปใช้ในการกําหนดส่วนผสมของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างถนนทางเข้าวัดแม่สาหลวง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จากผลการทดลองพบว่าขยะถุงพลาสติกสามารถเพิ่มค่าเสถียรภาพของถนนแอสฟัลต์คอนกรีตได้สูงถึง 21.8 kN มากกว่าถนนแอสฟัลต์คอนกรีตแบบธรรมดาที่มีค่าเสถียรภาพเพียง 10.8 kN และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมทางหลวง ที่กําหนดค่าเสถียรภาพไว้ต้องไม่น้อยกว่า 8.0 kN สามารถนําก่อสร้างถนนที่มีความยาวประมาณ 150 เมตร พื้นที่ประมาณ 600 ตร.ม. และมีความหนา 5 ซม. ภายในชุมชนได้และที่สําคัญยังทําให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายกําจัดปริมาณขยะถุงพลาสติกได้มากถึง 540 kg

Article Details

How to Cite
หล้ากาศ เ. . (2018). การประยุกต์ใช้ถนนแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน: กรณีศึกษาถนนทางเข้าวัดแม่สาหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เวชสวรรค์ หล้ากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(4), 812–821. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249959
บท
บทความวิจัย