บทบาทของปริมาณเหล็กที่ว่องไวที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดสารอินทรีย์คาร์บอน จากน้ำชะขยะชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาบทบาทของปริมาณเหล็กที่ว่องไว (Active Fe(III)) ต่อการบําบัดสารอินทรีย์คาร์บอนจากน้ำชะขยะชุมชนในระบบฝั่งกลบในดิน (Landfill Leachate Organic Carbon Treatment Efficiency, LFLOCTE) จึงได้ทําการทดลองแบบ Split Plot Design ที่มีแหล่งที่มาของน้ำเป็น Main Plot 2 แหล่ง คือ น้ำชะขยะ (LFL, W1) และน้ำประปา (Blank, W2) และ Sub Plot 4 ชนิด คือ ชุดดินราชบุรี (S1) และดินเทียมที่ทําจากการเจือจางดินนี้ด้วยทรายหยาบด้วยสัดส่วน ดิน: ทราย 3: 1 (S2), 2: 2 (S3) และ 1: 3 (S4) ปรับให้ดินทั้ง 4 ชนิดนี้มีปริมาณเหล็กที่ว่องไว 5,200 3,900 2,600 และ 1,300 ppm Fe ตามลําดับ ทําการทดลอง 4 ซ้ำ โดยใส่น้ำให้อยู่ในระดับอิ่มตัวด้วยปริมาตร 5 4 3 และ 2 มล. ใน S1-S4 และบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 1 2 4 8 และ 16 สัปดาห์ ตามลําดับ ผลการศึกษาพบว่า (ก) Active Fe(III) ทั้ง 4 ระดับสามารถบําบัด LFL ในระบบอิ่มตัวด้วยน้ำที่มีภาระ สารอินทรีย์คาร์บอน 192 ppm OC (S1) 153.6 ppm OC (S2) 115.2 ppm OC (S3) และ 76.8 ppm OC (S4) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ร้อยละ 82.5 78.8 72.5 และ 60.0 ตั้งแต่สัปดาห์แรกด้วยอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 0.743 ± 0.158 ต่อสัปดาห์ ในวิธีการคํานวณปกติ (ข) เมื่อประเมินโดยเทคนิคการหักค่าแบลงค์ออก (BST) พบว่า LFLOCTE เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเต็ม 100% ภายใน 4 สัปดาห์ ถึงแม้มี Active Fe(III) เพียง 1,300 ppm Fe (S4) และ (ค) Active Fe(III) ในดินที่มากขึ้นจะทําให้ LFLOCTE (%) มากขึ้นอย่างมีนัยสําคัญยิ่งในทุกระยะเวลาที่บ่มดินที่จุดอิ่มตัวด้วยน้ำ จากผลการศึกษานี้ทําให้สามารถแนะนําได้ว่า ความสัมพันธ์ของปริมาณเหล็กที่ว่องไวต่อการบําบัดสารอินทรีย์คาร์บอนที่สัปดาห์แรกมีคุณค่าต่อการนํามาใช้พัฒนาระบบบําบัดในอนาคตเพราะให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด (r = 0.965**) และให้ค่าอัตราการเพิ่มของ TE (%) สูงที่สุด คือ b = 5.7 x 10-3 % ต่อ ppm Fe Active Fe(III)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.