การประยุกต์ใช้พืชอาหารหลักที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตรังไหมอีรี่

Main Article Content

ศิวิลัย สิริมังครารัตน์
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
ดวงรัตน์ ธงภักดิ์

บทคัดย่อ

การผลิตไหมอีรี่เพื่อมุ่งการทําผลิตภัณฑ์สิ่งทอและวัตถุดิบเพื่อการบริโภค(ดักแด้)นั้น จะเน้นผลผลิตรังเป็นหลัก ซึ่งจากการตรวจสอบการเลี้ยงไหมอีรี่ ecorace IPKKU1 ด้วยใบพืชอาหารหลักที่สําคัญ 4 ชนิด ได้แก่ ละหุ่ง TCO101, ละหุ่ง CaKKU1, มันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72 และพระเจ้าร้อยท่า(สายพันธุ์ไทย) โดยมีการให้ใบพืชอาหาร 8 กรรมวิธี ได้แก่ ละหุ่ง TCO101, ละหุ่ง CaKKU1, มันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72, พระเจ้าร้อยท่า, ละหุ่ง TCO101 สลับกับมันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72 วันเว้นวัน, ละหุ่ง TCO101 ผสมมันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72, ละหุ่ง TCO101 (วัย 1-4) + พระเจ้าร้อยท่า (วัย 5) และมันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72 (วัย 1-4) + พระเจ้าร้อยท่า (วัย 5) พบว่า การเลี้ยงด้วยมันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72 เพียงอย่างเดียวให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตรังทุกค่าสูงที่สุด ได้แก่ น้ำหนักรังสด, น้ำหนักดักแด้, น้ำหนักเปลือกรัง, เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง และน้ำหนักเปลือกรังรวม โดยมีค่าเท่ากับ 2.4447 กรัม, 2.1092 กรัม, 0.3157 กรัม, 12.97% และ 31.26 กรัม ตามลําดับ นอกจากนั้น ก็สามารถประเมินจากผลผลิตรังเฉลี่ยในส่วนที่สําคัญ คือ น้ำหนักรังสด, น้ำหนักดักแด้ และน้ำหนักเปลือกรังรวม เพื่อคัดเลือกหากรรมวิธีที่เหมาะสม (พืชอาหารเดี่ยว/พืชอาหารร่วม) อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าใบมันสําปะหลังพันธุ์ระยอง 72 คือหนึ่งในพืชอาหารหลักที่มีความเหมาะสมเพื่อใช้เพาะเลี้ยงไหมอีรี่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Article Details

How to Cite
สิริมังครารัตน์ ศ. ., ศักดิ์ศิริรัตน์ ว. ., & ธงภักดิ์ ด. (2018). การประยุกต์ใช้พืชอาหารหลักที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตรังไหมอีรี่. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(3), 455–461. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249911
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิวิลัย สิริมังครารัตน์ , กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมป่าและแมลงสําคัญทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์, ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมป่าและแมลงสําคัญทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

ดวงรัตน์ ธงภักดิ์, กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมป่าและแมลงสําคัญทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

สาขากีฏวิทยา ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002