การใช้ดักแด้ไหมอีรี่ที่เพาะเลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลังผลิตถั่งเฉ้าสีทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ไหมอีรี่ที่เพาะเลี้ยงด้วยใบมันสําปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 (KU 50) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูก ด้วยการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 80±5 เปอร์เซ็นต์ ด้วยจำนวนหนอนแรกฟัก 300 ตัวต่อซ้ำ จำนวน 3 ซ้ำ วางแผนการทดลองแบบ completely randomized design (CRD) พบมีค่าเฉลี่ยต่างๆ ได้แก่ ปริมาณการกินเฉลี่ยของหนอนวัย 1–5 เท่ากับ 18.28 กรัมต่อตัว, วงจรชีวิตอยู่ระหว่าง 45 – 59 วัน, การอยู่รอดในระยะหนอน (วัย 1–5) และการอยู่รอดระยะหนอน (วัย 1 – 5) – ตัวเต็มวัย เท่ากับ 93.33 และ 86.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ, น้ำหนักหนอนเฉลี่ย (วัย 5 วันที่ 5) เท่ากับ 4.4779 กรัมต่อตัว ส่วนน้ำหนักดักแด้ที่ได้เพื่อนําไปประยุกต์ใช้เป็นอาหารผสมในการผลิตเห็ดถั่งเฉ้าสีทอง (Cordyceps militaris) นั้น มีค่าเท่ากับ 441.98 กรัม นอกจากนั้น ผลผลิตไข่เฉลี่ยในส่วนสําคัญเพื่อการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่ต่อไป คือ จํานวนไข่ฟักทั้งหมดเท่ากับ 4,930.50 ฟอง สําหรับการนําดักแด้ไหมอีรี่ป่นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยมันสําปะหลังพันธุ์ KU50 มาประยุกต์ใช้ผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อผลิตเห็ดถั่งเฉ้าสีทองไอโซเลตที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว พบว่าที่อายุ 60 วัน ให้ค่าเฉลี่ยต่างๆของดอกคือ จํานวนดอกเห็ด (stroma) เท่ากับ 31.67 ดอกต่อขวด ความสูง 3.97 เซนติเมตร น้ำหนักดอกเห็ดสด 27.46 กรัมต่อขวด และน้ำหนักดอกเห็ดแห้ง 1.87 กรัมต่อขวด ส่วนฐานดอกเห็ด (substrate) มีน้ำหนักสดและแห้งเท่ากับ 28.02 และ 12.34 กรัมต่อขวด ตามลําดับ ขณะที่ผลการวิเคราะห์ proximate analysis พบมีโปรตีน (35.37%), คาร์โบไฮเดรต (45.60%), ไขมัน (2.46%), เยื่อใยหยาบ (5.99%), เถ้า (4.93%) และความชื้น (5.65%) อีกทั้งมี cordycepin ที่ดอกเห็ด 457 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และที่ส่วนฐานดอกเห็ด 921 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.