การกำจัดสารหนูและแมงกานีส บริเวณบ่อเก็บกากโลหกรรมเหมืองแร่ทองคำด้วยพืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นฟูและบําบัดพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนสารหนู (As) และแมงกานีส (Mn) ด้วยพืชใบเลี้ยงคู่ 3 ชนิด ได้แก่ กระถินเทพา (Acacia mangium) กระถินยักษ์ (Leucaena leucocephala) และกระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis) ทําการปลูกพืชทดลองทั้ง 3 ชนิดในบริเวณพื้นที่บ่อเก็บกากโลหกรรมจากการทําเหมืองแร่ทองคํา ทําการศึกษาการเจริญเติบโต การแสดงความเป็นพิษ การดูดดึง และการสะสมของ As และ Mn ในส่วนราก ลําต้น และใบของพืชทดลองในระยะเวลา 6 เดือนผลการวิเคราะห์กากโลหกรรมในบ่อกักเก็บก่อนทําการทดลอง พบว่า มีปริมาณ As และ Mn เฉลี่ยเท่ากับ 51.03+0.74 และ 1,670+0.18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลําดับ และภายหลังทําการปลูกพืชทดลองพบว่า กระถินเทพามีปริมาณการสะสม As และ Mn เท่ากับ 7.03±0.80 และ 166.00±22.16 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของพืชทั้งต้น ตามลําดับ สําหรับกระถินณรงค์มีความสามารถในการสะสม As และ Mn เท่ากับ 6.56±1.14 และ 172.75±29.37 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของพืชทั้งต้น ตามลําดับสําหรับกระถินยักษ์มีความสามารถในการสะสม As และ Mn ได้เท่ากับ 0.60±0.08 และ 16.10±2.29 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของพืชทั้งต้น ตามลําดับ ทั้งนี้ใบและลําต้นของพืชทดลองมีการสะสม As และ Mn ในปริมาณที่มากใกล้เคียงกัน และมีค่าการสะสมน้อยในส่วนของรากซึ่งการดูดดึง As ด้วยกระถินเทพามีค่าใกล้เคียงกับกระถินณรงค์และมากกว่ากระถินยักษ์ ส่วน Mn กระถินณรงค์มีการดูดดึงได้ดีกว่ากระถินยักษ์และกระถินเทพา สําหรับอัตราการเจริญเติบโตของพืชเมื่อเทียบด้วยน้ำหนักแห้ง พบว่า กระถินเทพามีน้ำหนักแห้งสูงสุด รองลงมา คือ กระถินณรงค์และกระถินยักษ์มีค่าเท่ากับ 1,365.24, 1,267.88 และ 122.16 กรัมต่อต้นพืชตามลําดับ และมีการแสดงความเป็นพิษเฉลี่ย เท่ากับ 4.81, 5.27 และ 34.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับอย่างไรก็ตามจากผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่า กระถินเทพาและกระถินณรงค์เป็นพืชที่มีความสามารถ และมีความเหมาะสมในการนํามาใช้ในการกําจัดพื้นที่ปนเปื้อน As และ Mn ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.