เซนเซอร์ที่เปลี่ยนสีได้จากคาร์บาโซลที่ต่อไนโตรเอโซเบนซีนที่มีความจำเพาะ ต่อการตรวจวัดไซยาไนด์และฟลูออไรด์

Main Article Content

Jakkrit Tammachote
Anchalee Sirikulkajorn

บทคัดย่อ

ทําการสังเคราะห์เซ็นเซอร์ที่เปลี่ยนสีได้จากคาร์บาโซลและไนโตรเอโซเบนซีน (S1) พบว่าในระบบตัวทําละลายอะซิโตน สามารถนําไปใช้ตรวจวัดไอออนลบที่มีความเป็นเบสสูงได้อย่างจําเพาะนั่นคือ ฟลูออไรด์ และไซยาไนด์ไอออน โดยสังเกตเห็นการเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีแดง การเปลี่ยนสีดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวัดสเปกตรัมการดูดกลืนแสงชองเซ็นเซอร์ S1 ที่พบการเลื่อนตําแหน่งสเปกตรัมไปทางความยาวคลื่นที่มากขึ้นหลังการเติมฟลูออไรด์และไซยาไนด์ไอออน ผลจากการไทเทรตกับฟลูออไรด์และไซยาไนด์ไอออนด้วยเทคนิคโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์พบว่าหมู่ NH-เอไมด์ของ S1 ถูกไอออนลบดึงโปรตอน และสามารถคํานวณอัตราส่วนการจับกันระหว่างโฮสต์-เกสต์เป็นแบบ 1:2 การศึกษาเบื้องต้นในการหาค่าขีดจํากัดต่ำสุดของเซ็นเซอร์ S1 ในการตรวจวัดไอออนลบด้วยการสังเกตการเปลี่ยนสีด้วยตาเปล่าพบว่าความเข้มข้นต่ำสุดของฟลูออไรด์และไซยาไนด์ไอออนวัดได้เท่ากับ 4x10-4 และ 2x10-4 โมลาร์ ตามลําดับ

Article Details

How to Cite
Tammachote, J. ., & Sirikulkajorn, A. . (2018). เซนเซอร์ที่เปลี่ยนสีได้จากคาร์บาโซลที่ต่อไนโตรเอโซเบนซีนที่มีความจำเพาะ ต่อการตรวจวัดไซยาไนด์และฟลูออไรด์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(1), 24–37. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249799
บท
บทความวิจัย