ความหลากหลายชนิดของแมลงกินได้ในป่าชุมชนโครงการ อพ.สธ.จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ศิวิลัย สิริมังครารัตน์
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์
เดือนเพ็ญ วงค์สอน
ดวงรัตน์ ธงภักดิ์
กรวิภา พงษ์อนันต์

บทคัดย่อ

การสำรวจและรวบรวมแมลงกินได้เพื่อการใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ป่าชุมชนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เขตอำเภอบ้านฝางและอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น โดยการเดินสำรวจและการติดตั้งกับดักแสงไฟ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 – เมษายน 2557 ในพื้นที่ป่าชุมชน อำเภอบ้านฝาง พบแมลงกินได้จำนวน 37 ชนิดใน 7 อันดับ โดยพบแมลงกินได้ในอันดับ Coleoptera มากที่สุด (45.95%) รองลงมาคือ Orthoptera (27.03%), Hemiptera (13.51%), Hymenoptera (5.41%), Homoptera (2.70%), Lepidoptera (2.70%) และ Neuroptera (2.70%) ส่วนพื้นที่ป่าชุมชน อำเภอมัญจาคีรี พบจำนวน 25 ชนิด จาก 5 อันดับ ได้แก่ Coleoptera (52%), Orthoptera (28%), Hemiptera (8%), Hymenoptera (8%) และ Homoptera (4%) นอกจากนั้น ในการศึกษาค่าดัชนีความหลากหลาย (Shannon – Wiener index) และค่าความสม่ำเสมอ (Shannon evenness) นั้น แมลงกินได้ที่สำรวจและรวบรวมได้จากป่าชุมชนอำเภอบ้านฝาง แมลงในอันดับ Coleoptera มีค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุด (1.7705) รองลงมาได้แก่ แมลงในอันดับ Hemiptera (1.4019), Orthoptera (1.3529) และ Hymenpotera (0.1949) ตามลำดับ ขณะที่แมลงกินได้จากพื้นที่ป่าชุมชนอำเภอมัญจาคีรี อันดับ Orthoptera มีค่าดัชนีความหลากหลายสูงสุดเท่ากับ 1.1802 รองลงมา ได้แก่ อันดับ Coleoptera (1.0884) และ Hemiptera (0.5623) ตามลำดับ อีกทั้งป่าชุมชุนอำเภอบ้านฝางยังมีค่าดัชนีความหลากหลายและค่าความสม่ำเสมอโดยรวมเท่ากับ 2.4847 และ 0.6831 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าป่าชุมชนอำเภอมัญจาคีรี ในขณะที่ป่าชุมชนอำเภอมัญจาคีรีมีค่าเท่ากับ 1.7590 และ 0.5465 ตามลำดับ ในด้านการเจริญเติบโตและวงจรชีวิตจิ้งหรีดทองแดงซึ่งเป็นตัวแทนของแมลงกินได้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 พื้นที่ป่า โดยศึกษาในสภาพเลียนแบบธรรมชาติ อุณหภูมิเฉลี่ย 30.57 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.58% นั้น จิ้งหรีดทองแดงมีการเจริญเติบโต 3 ระยะ คือ ไข่ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย และระยะไข่ – ตัวเต็มวัย ใช้เวลา 92 – 111 วัน 

Article Details

How to Cite
สิริมังครารัตน์ ศ. ., ศักดิ์ศิริรัตน์ ว. ., วงค์สอน เ. ., ธงภักดิ์ ด. ., & พงษ์อนันต์ ก. . (2017). ความหลากหลายชนิดของแมลงกินได้ในป่าชุมชนโครงการ อพ.สธ.จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(3), 551–565. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249736
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิวิลัย สิริมังครารัตน์, สาขากีฏวิทยา ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น 40002

2 กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมป่าและแมลงสำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

3 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและ วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(AG–BIO/PERDO– CHE)

วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์, กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมป่าและแมลงสำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40002

3 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและ วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(AG–BIO/PERDO– CHE)