ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ปริมาณฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และแอลคาลอยด์ของสารสกัดลำต้นนกกระลิงแดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ปริมาณฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และแอลคาลอยด์ รวมของสารสกัดลำต้นนกกระลิงแดงที่สกัดด้วยเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน แอซิโตนและเมทานอล ทำการตรวจสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันโดยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดแอซิโตนมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันสูงที่สุด (IC50 = 2.12 0.01 mg/ml) และมีฤทธิ์สูงกว่าสารมาตรฐาน BHT (IC50 = 14.05
0.05 mg/ml) ประมาณ 6.6 เท่า การหาปริมาณฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และแอลคาลอยด์วิเคราะห์ด้วยวิธี Folin-Ciocalteu Colorimetric aluminium chloride และ Bromocresol Green method ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่าปริมาณสารฟีนอลิกรวมของทุกสารสกัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p> 0.05) ส่วนปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงสุดพบในสารสกัดเฮกเซนมีค่า 140.0
0.01 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิทินต่อกรัมสารสกัด ซึ่งแตกต่างจากสารสกัดชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) และปริมาณแอลคาลอยด์สูงสุดพบในสารสกัดแอซิโตน คือ 1,684.95 ± 0.02 มิลลิกรัมสมมูลของอะโทรพีนต่อกรัมสารสกัด จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าความสามารถในการต้านออกซิเดชันของสารสกัดลำต้นนกกระลิงแดงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณสารฟีนอลิกและแอลคาลอยด์รวมที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r เท่ากับ 0.991 และ 0.686 ตามลำดับ แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น 0.966
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.