สารส่งสัญญาณและสเกลความมีขั้ว

Main Article Content

โอภาส โตจิระ

บทคัดย่อ

ความมีขั้วเป็นคุณสมบัติที่สําคัญมากทั้งในระบบทางเคมีและทางชีวภาพ ความมีขั้วเป็นตัวกําหนดอันตร- กิริยาระหว่างโมเลกุลภายในระบบ ดังนั้นความมีขั้วจึงมีอิทธิพลอย่างมากทั้งต่อกระบวนการทางกายภาพและทางเคมีในสารละลายการเปลี่ยนแปลงของอันตรกิริยาระหว่างตัวถูกละลายและตัวทําละลายอันเนื่องมาจากความมีขั้วที่ระดับจุลภาค มีผลต่อการจัดเรียงตัว ความเสถียร และระดับพลังงานของโมเลกุล ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากการเปลี่ยนแปลงตําแหน่ง และ/หรือ ความเข้มของสเปกตรัมการดูดกลืนแสงและสเปกตรัมการเรืองแสง สารประกอบจํานวนมากซึ่งถูกเรียกว่า สารประกอบโซลเวโตโครมิก จะแสดงสเปกตรัมซึ่งไวต่อความมีขั้วและสามารถเกิดการเลื่อนตําแหน่งไปยังช่วงที่มีความยาวคลื่นสูง (บาร์โทรโครมิกชิฟท์) หรือไปยังช่วงที่มีความยาวคลื่นต่ำ (ฮิร์พโซโครมิกชิฟท์) จากคุณสมบัติดังกล่าวทําให้สามารถนําสารเหล่านี้มาใช้เป็นสารส่งสัญญาณความมีขั้ว และสามารถนํามาใช้สร้างสเกลความมีขั้วแบบเอมไพริคัล สเกลความมีขั้วที่รู้จักกันดีจะมีการกล่าวถึงในบทความนี้เช่นเดียวกับสารประกอบโซลเวโตโครมิกบางตัวที่มีการนํามาใช้แล้วอย่างกว้างขวางในการตรวจสอบระบบทางเคมีและทางชีวภาพจะมีการกล่าวถึงเป็นตัวอย่างด้วย นอกจากนี้รายละเอียดและการประยุกต์ใช้สารส่งสัญญาณความมีขั้วเรืองแสงที่รู้จักกันดีอย่างไพรีน ซึ่งมีลักษณะ/ความเข้มของสเปกตรัมที่ไวต่อความมีขั้วของระบบจะถูกกล่าวถึงเช่นกัน

Article Details

How to Cite
โตจิระ โ. . (2017). สารส่งสัญญาณและสเกลความมีขั้ว. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(1), 17–33. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249660
บท
บทความวิชาการ