ความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความต้องการพลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานธรรมชาติโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเรื่องที่จําเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นพลังงานที่มีอยู่มหาศาล สะอาด และสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งอาจจําแนกออกได้หลายชนิดตามประเภทของสารกึ่งตัวนํา อันได้แก่ เซลล์แสอาทิตย์ชนิดซิลิกอน ชนิดสารประกอบตัวนํา ชนิดอินทรีย์และชนิดสีย้อมไวแสง เป็นต้น และเนื่องจากเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์เป็น อุปกรณ์ที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำใช้วัสดุปริมาณน้อย มีน้ำหนักเบา ทั้งยังสามารถนํามาขึ้นรูปเป็นขนาดต่างๆ ได้ง่ายทว่าประสิทธิภาพและเสถียรภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ยังด้อยกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอื่นๆ จึงได้รับความสนใจที่จะพัฒนาศักยภาพและประสิทธิผลให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์มีประสิทธิภาพสูงเพียง 11.5 % และเมื่อพิจารณาผลการศึกษาและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต ในการนี้ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษา ความเป็นมาโครงสร้าง หลักการทํางาน การวิจัยและพัฒนาสารกึ่งตัวนํา และการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.