An Ontology-based Supporting System for Integrated Farming towards a Concept of the Sufficiency Economy

Main Article Content

Wichuphon Chariyamakarn
Poonpong Boonbrahm
Thepchai Supnithi
Taneth Ruangrajitpakorn

บทคัดย่อ

ทฤษฎีเศษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ได้รับพระราชทานมาสู่สังคมไทย โดยได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในแนวทางด้านการเกษตร และเรียกกันว่า “แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่” ทฤษฎีดังกล่าวได้กล่าวถึงหลักการทางด้านการเกษตรที่ถือหลักการและแนวคิดเรื่องการพึ่งพาตนเองและความยั่งยืนของทรัพยากรภายในพื้นที่เพาะปลูกโดยเน้นการบูรณาการส่วนต่าง ๆ งานชิ้นนี้ จึงนําทฤษฎีดังกล่าวมาแปลงเป็นออนโทโลยีเพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ของทฤษฎีใหม่ และนํามาใช้เป็นฐานความรู้ให้กับการวางแผนการทําการเกษตรตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย โดยการตัดสิดใจได้ใช้กลไกอนุมานตามหลักเหตุผลและข้อเท็จจริงร่วมกับออนโทโลยีมาพัฒนาเป็นระบบให้คําแนะนําสําหรับกระบวนการขั้นตอนการทําการเกษตรแบบทฤษฎีเศษฐกิจ
พอเพียง ระบบนี้ได้ออกแบบมาให้คําแนะนําการทําการเกษตรในแต่ละส่วน รวมทั้งการจัดการเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองและความยั่งยืนของทรัพยากร จากการทดลอง ผู้วิจัยพบว่าคําแนะนําได้รับการประเมินความถูกต้องร้อยละ 94.75 เมื่อเปรียบเทียบกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร

Article Details

How to Cite
Chariyamakarn, W. ., Boonbrahm, P. ., Supnithi, T. ., & Ruangrajitpakorn, T. . (2016). An Ontology-based Supporting System for Integrated Farming towards a Concept of the Sufficiency Economy. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(4), 691–704. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249615
บท
บทความวิจัย
Author Biography

Taneth Ruangrajitpakorn, Language and Semantic Technology Laboratory, NECTEC, Pathumthani, Thailand, 12120

Department of Computer Science, Thammasat University, Pathumthani, Thailand, 12120