การประเมินและการจัดการแหล่งแร่เฟลด์สปาร์ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาแหล่งแร่โซเดียมเฟลด์สปาร์จากหินอะแลสไกต์ (sodium feldspar bearing alaskite) อําเภอนบพิตํา ศึกษาต้นทุนกระบวนการผลิต ต้นทุนขนส่งแร่ดิบ ต้นทุนกระบวนการแต่งแร่ และต้นทุนกระบวนการส่งมอบสินค้าของปี พ.ศ. 2556 เพื่อนําข้อมูลดังกล่าวมาออกแบบบ่อเหมืองให้สามารถเก็บแร่ได้มากที่สุด รวมทั้งคํานวณอายุเหมือง การวิจัยนี้ครอบคลุมประทานบัตรเปิดการ และประทานบัตรต่ออายุ ในหมู่เหมือนแร่เฟลด์สปาร์อําเภอนบพิตํา จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมทั้งหมด 7 แปลง โดยพบว่าแหล่งแร่นี้มีปริมาณแร่สํารอง (inferred reserves) ทั้งสิ้น 82 ล้านเมตริกตัน สามารถทําเหมืองได้ที่สัดส่วนปริมาณเปลือกดินและเปลือกหินต่อแร่ที่ทําแล้วคุ้มทุน (break even stripping ratio) 1.52 : 1 เพื่อผลิตแร่เฟลด์สปาร์ตามสมบัติที่ลูกค้าต้องการดังนี้คือ ค่าความสว่าง (L*) ≥ 80 ค่าสีแดงและสีเขียว (a*) ≤ 2 ค่าสีเหลืองและสีน้ำเงิน (b*) ≤ 20, และค่าความทนไฟ (refractoriness) ≤ 65 % ราคาขาย (F.O.B.) 850 บาท/เมตริกตัน ณ ท่าเรือ อําเภอท่าศาลา ถ้าหากปริมาณการจําหน่ายเพิ่มขึ้นปีละ 5 % นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จะยังคงทําเหมืองไปได้อีก 40 ปี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.