การป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากสารสกัดหัวปลีกล้วยน้ำว้า (Musa (ABB group) ‘Kluai Nam Wa’) ด้วยแอลกอฮอล์ ในหนูวิสตาร์

Main Article Content

Pattrawan Khamboonruang
Thiraporn Anuntasethakul
Somphop Navephap
Supang Maneesri LeGrand

บทคัดย่อ

หัวปลีกล้วยได้รับความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากหัวปลีกล้วยน้ําว้าด้วยแอลกอฮอล์ (EF) ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูวิสตาร์ที่เกิดจากการชักนําด้วยแอลกอฮอล์ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) และความเครียด เมื่อทําการป้อน EF ให้แก่หนูทางปากแบบเฉียบพลัน ในขนาดความเข้มข้น 250, 500 และ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนชักนําให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทําการวัดพารามิเตอร์ได้แก่ ขนาดของแผลในกระเพาะอาหาร (ulcer index), % protection, gastric secretion และ สารเมือก (gastric wall mucus content) จากผลการทดลองพบว่า EF
ขนาดความเข้มข้น 250, 500 และ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถลดขนาดของแผลในกระเพาะอาหารได้ในทุกโมเดลตั้งแต่ขนาดความเข้มข้นต่ําสุด (250 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า EF ขนาดความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (% protection) ได้ถึง 78.80, 70.26 และ 68.73 เปอร์เซ็นต์ในโมเดลแอลกอฮอล์ความเครียด และ ยาอินโดเมทาซิน ตามลําดับ สําหรับประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งการหลั่งน้ําย่อยในกระเพาะอาหารพบว่า EF สามารถลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและสามารถลดปริมาณเอนไซม์เพพซินได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่สามารถลดค่า gastric volume และโปรตีนรวมได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่า EF ตั้งแต่ระดับความเข้มข้นต่ําสุดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสามารถเพิ่มระดับของสารเมือก และระดับ pH ในกระเพาะอาหารให้สูงขึ้นได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า EF สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูวิสตาร์ในโมเดลแอลกอฮอล์ยาอินโดเมทาซิน และความเครียดได้ซึ่งประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารอาจเกี่ยวข้องกับกลไกการเพิ่มขึ้นของสารเมือกในกระเพาะอาหาร

Article Details

How to Cite
Khamboonruang, P. ., Anuntasethakul, T. ., Navephap, S. ., & LeGrand, S. M. . (2016). การป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากสารสกัดหัวปลีกล้วยน้ำว้า (Musa (ABB group) ‘Kluai Nam Wa’) ด้วยแอลกอฮอล์ ในหนูวิสตาร์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(2), 282–293. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249497
บท
บทความวิจัย