ความชุกของหนอนพยาธิในทางเดินอาหารของหนูวงศ์ Murinae จากจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

Main Article Content

ญาณิศา นราพงษ์
นพคุณ ภักดีณรงค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาอัตราความชุกของหนอนพยาธิในทางเดินอาหารของหนูจากจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยเก็บจํานวนตัวอย่างหนูทั้งหมด 125 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนเมษายน- ตุลาคม พ.ศ. 2557 พบจํานวนชนิดของหนู 8 ชนิด และติดเชื้อหนอนพยาธิทั้งหมด 8 ชนิด คือพยาธิตัวตืด 2 ชนิด และพยาธิตัวกลม 6 ชนิด หนูที่มีอัตราการติดเชื้อของหนอนพยาธิสูงสุด คือ หนูฟันขาวเล็ก (Berylmys berdmorei) คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือหนูพุกเล็ก (Bandicuta savilei) คิดเป็นร้อยละ 85.7 หนูนาเล็ก (Rattus losea) คิดเป็นร้อยละ 83.3 หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง (Bandicuta indica) คิดเป็นร้อยละ 68.8 หนูจี๊ด (Rattus exulans) คิดเป็นร้อยละ 54.5 หนูบ้านท้องขาว (Rattus tanezumi) คิดเป็นร้อยละ 52.3 หนูหริ่งนาหางสั้น (Mus cervicolor) คิดเป็นร้อยละ 42.9 และหนูหริ่งนาหางยาว (Mus caroli) คิดเป็นร้อยละ 28.6 ส่วนหนอนพยาธิที่มีอัตราความชุกสูงสุด คือ พยาธิตืด Hymenolepis diminuta คิดเป็นร้อยละ 16.8 รองลงมาคือพยาธิตัวกลม Protospirura siamensis คิดเป็นร้อยละ 15.2 พยาธิตัวกลม Syphacia muris คิดเป็นร้อยละ 14.4 พยาธิตัวกลมสกุล Trichostrongylidae คิดเป็นร้อยละ 13.6 Ptrygodematites sp. คิดเป็นร้อยละ 12.8 ส่วนพยาธิตืด Raillietina sp. พยาธิตัวกลม Syphacia obvelata และ Physaloptera sp. มีอัตราความชุกเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 0.8 จังหวัดที่มีความชุกของหนอนพยาธิสูงสุด คือ จังหวัดบุรีรัมย์คิดเป็นร้อยละ 59.0
รองลงมาคือจังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นร้อยละ 58.1 และจังหวัดสุรินทร์ คิดเป็นร้อยละ 52.4 โดยที่จังหวัดบุรีรัมย์ พบจํานวนชนิดของหนอนพยาธิมากที่สุดคือ 7 ชนิด รองลงมาคือจังหวัดนครราชสีมาและสุรินทร์ โดยพบจํานวนหนอนพยาธิ 3 ชนิด จากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหนูเป็พาหะนําโรคหนอนพยาธิที่สําคัญหลายชนิด ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในการวางแผนควบคุม และป้องกันการติดเชื้อหนอนพยาธิในหนูสู่คนและสัตว์เลี้ยงได้

Article Details

How to Cite
นราพงษ์ ญ. ., & ภักดีณรงค์ น. . (2016). ความชุกของหนอนพยาธิในทางเดินอาหารของหนูวงศ์ Murinae จากจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(1), 32–42. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249457
บท
บทความวิจัย