การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ด้วยระบบฟิกซ์-ฟิล์มไบโอสครับเบอร์แบบคู่

Main Article Content

มุจรินทร์ บุญเสริฐ
สิราภรณ์ โพธิวิชยานนท์
ประพัฒน์ เป็นตามวา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการประยุกต์ใช้ระบบฟิกซ์-ฟิล์มไบโอสครับเบอร์แบบคู่เพื่อกำจัดก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) โดยใช้จุลินทรีย์ Pseudomonas monteilii SUTS 2 และ Agrobacterium tumefaciens SUTS 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารในกลุ่มไซยาไนด์ และ Acinetobacter sp. MU1_03 และ Alcaligenes faecalis MU2_03 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยสลายสารในกลุ่มซัลไฟด์ การทดลองเบื้องต้นเป็นการศึกษาความสามารถของจุลินทรีย์แต่ละกลุ่มในการย่อยสลายก๊าซพิษแต่ละชนิดการศึกษาลำดับต่อมาเป็นการศึกษาผลของพารามิเตอร์ที่มีความเหมาะสมกับระบบฟิกซ์-ฟิล์มไบโอสครับเบอร์แบบคู่โดยการแปรผันความสูงของตัวกลาง อัตราการไหลของก๊าซรวม และระยะเวลากักเก็บ การศึกษาลำดับสุดท้ายเป็นการศึกษาประสิทธิภาพสูงสุดของระบบโดยการเดินระบบอย่างต่อเนื่อง 72 hrs. จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสารมลพิษในรูปของก๊าซได้ ซึ่งการก าจัดของระบบฟิกซ์-ฟิล์มไบโอสครับเบอร์แบบคู่พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดของระบบมากกว่าร้อยละ 90 โดยระบบสามารถบำบัดก๊าซทั้งสองชนิดได้เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซทั้งสองชนิดเป็น 15 ppm ซึ่งพารามิเตอร์ที่มีความเหมาะสมกับระบบได้แก่ ความสูงของตัวกลางที่ 16 cm อัตราการไหลของก๊าซรวม 204 ml/min และระยะเวลากักเก็บ 132 sec เมื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดของระบบพบว่า อัตราภาระก๊าซที่เข้าระบบ ความสามารถในการกำจัดก๊าซของระบบ และประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซสูงสุดของระบบ สำหรับการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ เท่ากับ 15.60 g/m3•hrs., 15.06 g/m3•hrs. คิดเป็นร้อยละ 96 และสำหรับการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์เท่ากับ 88.70g/m3•hrs., 86.85 g/m3•hrs. คิดเป็นร้อยละ 98 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
บุญเสริฐ ม. ., โพธิวิชยานนท์ ส. ., & เป็นตามวา ป. . (2015). การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ด้วยระบบฟิกซ์-ฟิล์มไบโอสครับเบอร์แบบคู่. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(4), 775–787. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249453
บท
บทความวิจัย