การคัดแยกและศึกษาคุณสมบัติของ Aspergillus sp. KB2 ในการลดความเข้มสีย้อมกก

Main Article Content

จิรภัทร จันทมาลี
มธุรา อุณหศิริกุล
ณมนรัก คำฉัตร
กมลชนก ปกาสิทธิ์

บทคัดย่อ

น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการย้อมกกมีสีย้อมและรงควัตถุหลายชนิดปนเปื้อนอยู่ในปริมาณสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและศึกษาเชื้อราย่อยสลายสีย้อมกกจำกตัวอย่างดินและน้ำทิ้งในพื้นที่ทอเสื่อกกของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งสามารถแยกเชื้อราได้ทั้งหมด 19 ไอโซเลท แต่มีเพียง 9 ไอโซเลทที่สามารถเจริญและสร้างวงใสรอบโคโลนีเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็ง Czapek-Dox Agar (CDA) ที่เติมสีย้อมกกสีแดง จากนั้นนำเชื้อราแต่ละไอโซเลทมาทดสอบประสิทธิภาพการลดความเข้มสีในอาหารเหลว Czaped-Dox Broth (CDB) ที่เติมสีย้อมกกสีแดง 100 มก./ล. โดยการเขย่า (80 รอบ/นาที) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 5 วัน พบว่าไอโซเลท KB2 เป็นสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดความเข้มสีย้อมกกสีแดง (~87%) จึงคัดเลือกเชื้อราไอโซเลทดังกล่าวไปทดสอบการย่อยสลายสีย้อมกกสีผสมที่ได้จากการผสมสีย้อมกกสีแดง เหลือง เขียว ชมพูในอัตรำส่วน 1:1:1:1 (w/w) พบว่าสามารถลดความเข้มสีได้สูงสุด 90% ในระยะเวลา 9 วัน สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของมวลเซลล์จากการศึกษาลักษณะโคโลนีและเซลล์สามารถจัดจำแนกเชื้อ KB2 อยู่ในจีนัส Aspergillus หลังจากนั้นทดสอบผลของความเข้มข้นสีย้อมกกต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายของ Aspergillus sp. KB2 โดยกำรเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว C-limited CDB ที่เติมสีผสมความเข้มข้น 50-500 มก./ล. บ่มเชื้อที่สภาวะเดิม พบว่าเชื้อ KB2 สามารถลดความเข้มของสีผสม (50 มก./ล.) ได้สูงสุด (~75%) ดังนั้นจึงเลือกใช้สภาวะดังกล่าวสำหรับการตรึงเซลล์โดยเติมกล้าเชื้อราปริมาณ 5 fungal disc ลงในฟลาสก์บรรจุวัสดุตรึงปริมาณ 5 กรัมของน้ำหนักแห้ง บ่มฟลาสก์ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า Aspergillus sp. KB2 ที่ตรึงบนซังข้าวโพดทำให้เกิดการลดลงของสีย้อม 79% โดยมีค่าสูงกว่าการตรึงเชื้อรา KB2 บนเส้นใยบวบที่ให้ค่าการลดลงของสีย้อม 72% ในอนาคตอาจจะน้ำราที่ตรึงบนซังข้าวโพดไปใช้ในการลดความเข้มสีในน้ำเสียจากการย้อมกก

Article Details

How to Cite
จันทมาลี จ. ., อุณหศิริกุล ม. ., คำฉัตร ณ. ., & ปกาสิทธิ์ ก. . (2015). การคัดแยกและศึกษาคุณสมบัติของ Aspergillus sp. KB2 ในการลดความเข้มสีย้อมกก. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(4), 761–774. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249452
บท
บทความวิจัย