การพัฒนาวัสดุดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนจากถ่านไม้

Main Article Content

องอาจ สุยะพันธ์
กมลขวัญ ไชยศรีหา
นิศารัตน์ ทองอินทร์
อัครเดช ศรีชาดา
พิรัชฎา มุสิกพงศ์
ขนิษฐา มีวาสนา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนจากถ่านไมเโดยใช้น้ำยางพาราเป็นตัวประสาน ถ่านไม้ที่ถูกเลือกมาทําการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับไอระเหยสารโทลูอีน ได้แก่ผงถ่านที่ทําจากไม้มะขามและไม้งิ้ว ทําการทดลองโดยศึกษาความสามารถในการดูดซับในกล่องทดสอบและทําการวิเคราะห์ความเข้มข้นของโทลูอีน ทุก ๆ 5 นาที เป็นระยะเวลา 50 นาทีด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี พบว่าผงถ่านไม้มะขามและผงถ่านไม้งิ้ว มีค่าประสิทธิภาพการดูดซับเท่ากับ 393.05 มิลลิกรัม/กรัม และ 379.24 มิลลิกรัม/กรัม ตามลําดับ จึงนําผงถ่านไม้มะขามที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนสูง และยังหาได้ง่ายในท้องถิ่น ไปผสมกับน้ำยางพาราและรีดเป็นแผ่น เพื่อพัฒนาให้ได้แผ่นวัสดุดูดซับ และนําไปทดสอบการดูดซับไอระเหยสารโทลูอีน พบว่าประสิทธิภาพการดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนของแผ่นวัสดุดูดซับมีค่าเท่ากับ 202.96 มิลลิกรัม/กรัม จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนระหว่างผงถ่านไม้มะขามกับแผ่นวัสดุดูดซับ พบว่าแผ่นวัสดุดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพการดูดซับได้น้อยกว่าผงถ่านไม้มะขามซึ่งเป็นเพราะพื้นที่ผิวของตัวดูดซับที่ลดลง

Article Details

How to Cite
สุยะพันธ์ อ. ., ไชยศรีหา ก. ., ทองอินทร์ น. ., ศรีชาดา อ. ., มุสิกพงศ์ พ., & มีวาสนา ข. (2015). การพัฒนาวัสดุดูดซับไอระเหยสารโทลูอีนจากถ่านไม้. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 43(2), 249–259. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249372
บท
บทความวิจัย