โมเดลประเมินคุณภาพด้านความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อผิดพลาด สําหรับโค้ดจาวาระดับคลาส

Main Article Content

จุฑามาส สงวนจิตร
ทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช
พนิตา เมนะเนตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เสนอโมเดลประเมินคุณภาพของซอร์สโค้ดด้านความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อผิดพลาด (Analyzability) สำหรับโค้ดจาวาระดับคลาส ซึ่งจะช่วยวัดระดับความยากง่ายในการวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อผิดพลาดและตำแหน่งที่ต้องแก้ไข ในการสร้างโมเดลผู้วิจัยได้สำรวจหามาตรวัดที่คาดว่าจะมีผลต่อ
คุณภาพของซอร์สโค้ดด้านการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อผิดพลาดและตำแหน่งที่ต้องแก้ไข และใช้วิธีทางสถิติการถดถอยโลจิสติกแบบอันดับ เพื่อค้นหามาตรวัดที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพของซอร์สโค้ดด้านการวิเคราะห์หาสาเหตุข้อผิดพลาดและตำแหน่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งแบ่งไว้ 3 ระดับ คือ 1. ควรปรับปรุง 2. พอใช้ 3. ดี หลังจากนั้นได้ทําการทดสอบวัดความถูกต้องแม่นยำของโมเดลที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างคลาสจาวาจากซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส jEdit จำนวน 37 คลาสที่มีการบันทึกว่ามีข้อผิดพลาดและให้ผู้เชี่ยวชาญได้เข้าไปวิเคราะห์หาจุดที่จะต้องแก้ไขและให้ค่าระดับคุณภาพของคลาส จากการทดลองพบว่ามาตรวัดที่มีผลต่อคุณภาพของซอร์สโค้ดด้านความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อผิดพลาด คือ Coupling Between Object (CBO) และ Lack Of Cohesion In Methods (LCOM)

Article Details

How to Cite
สงวนจิตร จ. ., รองวิริยะพานิช ท. ., & เมนะเนตร พ. . (2014). โมเดลประเมินคุณภาพด้านความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อหาข้อผิดพลาด สําหรับโค้ดจาวาระดับคลาส. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 42(3), 670–680. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249295
บท
บทความวิจัย