การใช้ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไปในการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่พิจารณาจากน้ำหนักแรกเกิดของทารก

Main Article Content

จุฑามาศ สสิโรจน์
ชฎายุรัตน์ ชิตชิกูล
ดารารัตน์ ศรีเดช
วีรานันท์ พงศาภักดี

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกซึ่งพิจารณาจากน้ําหนักแรกเกิดของทารกจํานวน 3 กลุ่มคือ กลุ่มน้ำหนักทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง และกลุ่มปกติโดยศึกษาปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อายุของมารดาที่ตั้งครรภ์การสูบบุหรี่ของมารดาขณะตั้งครรภ์การคลอดก่อนกําหนด ประวัติโรคความดันโลหิตสูงของมารดา การมีปัญหาสูตินารีเวช โดยใช้ข้อมูลจริง 189 คนจาก Hosmer and Lemeshow (1989) ด้วยตัวแบบลอจิตสะสม ตัวแบบลอจิต 2 กลุ่ม ตัวแบบล็อกลิเนียร์ตัวแบบการถดถอยปัวซง และตัวแบบการถดถอยปัวซงนัยทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า ทุกตัวแบบของการทดลองมีภาวะสารูปดีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่พบจากตัวแบบลอจิตสะสมและตัวแบบลอจิต 2 กลุ่มนั้นตรงกัน 3 ปัจจัยคือ การคลอดก่อนกําหนด ประวัติโรคความดันโลหิตสูงของมารดา และการมีปัญหาสูตินารีเวช ปัจจัยเสี่ยงจากตัวแบบล็อกลิเนียร์คือ ประวัติการเป็นโรคความดันโลหิตสูงของมารดา และการมีปัญหาสูตินารีเวช ส่วนปัจจัยเสี่ยงจากตัวแบบการถดถอยปัวซงเปรียบเทียบกับตัวแบบการถดถอยปัวซงนัยทั่วไปคืออายุของมารดาที่ตั้งครรภ์ ดังนั้นเกือบทุกปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษายกเว้นการสูบบุหรี่ของมารดาขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักแรกเกิดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้วยค่าพยากรณ์ความน่าจะเป็นจากตัวแบบที่สอดคล้องกันค่อนข้างสูง

Article Details

How to Cite
สสิโรจน์ จ. ., ชิตชิกูล ช., ศรีเดช ด. ., & พงศาภักดี ว. . (2014). การใช้ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไปในการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกที่พิจารณาจากน้ำหนักแรกเกิดของทารก. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 42(2), 434–448. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249274
บท
บทความวิจัย