กลยุทธการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นกแขกเต้า ในสภาพกรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา

Main Article Content

วิชิต กองคำ
วันชัย สวาสุ
จำนงค์ สุรพัฒน
เอนก พิมพ์จันทึก
บัญญัติ อินทร์สุวรรณ์
สราวุธ แก้วศรี

บทคัดย่อ

การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นกแขกเต้า (Psittacula alexandri) ในสภาพกรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์ นครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2552 ศึกษาพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี การผสมพันธุ์ ทำรัง ออกไข่ ฟักไข่ เลี้ยงดูลูก และการพัฒนาการของลูกนกแขกเต้า เตรียมพ่อแม่พันธุ์นกด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวจะงอยปากบน ความยาวปีก และความยาวแข้ง สังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่นก ผลการศึกษาพบว่าพ่อแม่พันธุ์นกมีน้ำหนักตัว ความยาวจะงอยปากบน ความยาวปีก และความยาวแข้งเฉลี่ยเท่ากับ 18.42±2.87 กรัม, 21.67±2.19 มิลลิเมตร, 201.33±9.00 มิลลิเมตร และ 18.42±2.87 มิลลิเมตร ตามลำดับ ฤดูสืบพันธุ์จะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม นกแขกเต้าใช้เวลาผสมพันธุ์เฉลี่ย 2.38±0.58 นาทีต่อครั้ง และมีการผสมพันธุ์เฉลี่ย 2.58±1.44 ครั้งต่อวัน ไข่มีรูปทรงกลมรี เปลือกเรียบสีขาวไม่เป็นมัน มีน้้าหนักเฉลี่ย 10.00±0.08 กรัม ขนาดเฉลี่ย 23.88±0.64 × 29.75±0.89 มิลลิเมตร วางไข่ทุก 1-5 วัน จำนวนไข่ต่อชุด 3-4 ฟอง ระยะเวลาในการฟักไข่เฉลี่ย 24±3 วัน ไข่มีเชื้อเฉลี่ยร้อยละ 79.16±4.16 ฟักเป็นตัวร้อยละ 100±0.00 ลูกนกแรกเกิดมีขนเต็มตัว สีจะงอยปาก สีส้มแดงเมื่ออายุ 50 วัน ลูกนกบินได้เมื่ออายุประมาณ 55 วัน กินอาหารได้เองเมื่ออายุประมาณ 70 วัน จะงอยปากบนของลูกนกจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่ออายุมากกว่า 70 วัน และสามารถแยกเพศนกได้จากลักษณะภายนอกอย่างชัดเจนเมื่ออายุครบ 12 เดือน ลูกนกรอดชีวิตจนถึงอายุ 12 เดือน ร้อยละ 90.91

Article Details

How to Cite
กองคำ ว. ., สวาสุ ว. ., สุรพัฒน จ., พิมพ์จันทึก เ. ., อินทร์สุวรรณ์ บ. ., & แก้วศรี ส. . (2013). กลยุทธการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นกแขกเต้า ในสภาพกรงเพาะเลี้ยงของสวนสัตว์นครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(3), 689–701. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249169
บท
บทความวิจัย