โรคมาลาเรียในหนูไมซ์: โมเดลสู่การค้นพบยาต้านมาลาเรียใหม่ในมนุษย์

Main Article Content

สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์

บทคัดย่อ

เชื้อมาลาเรียมีการระบาดในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดรวมถึงสัตว์ฟันแทะ เชื้อมาลาเรียในสัตว์ฟันแทะได้รับการปรับให้สามารถเจริญเติบโตครบวงจรชีวิตในหนูไมซ์ (Mus musculus) สัตว์ทดลองและยุงก้นปล่อง (Anopheles spp.) จึงสามารถนำมาใช้เป็นโมเดลในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของเชื้อมาลาเรียและสัตว์ให้อาศัยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการรักษาโรคมาลาเรียด้วยสารเคมีซึ่งศึกษาได้ยากกับเชื้อมาลาเรียในมนุษย์ บทความวิจัยนี้จะบรรยายถึงวงจรชีวิต และการใช้ประโยชน์ของโรคมาลาเรียในหนูไมซ์สำหรับเป็นเครื่องมือวิจัยเพื่อค้นคว้ายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่

Article Details

How to Cite
ภัทรดิลกรัตน์ ส. . (2013). โรคมาลาเรียในหนูไมซ์: โมเดลสู่การค้นพบยาต้านมาลาเรียใหม่ในมนุษย์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 41(3), 532–541. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249147
บท
บทความวิชาการ