เชื้อโมโนดอนแบคคิวโลไวรัส: การตรวจสอบการติดเชื้อในกุ้งกุลาดำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อโมโนดอนแบคคิวโลไวรัสในกุ้งกุลาดำ หรือ เอ็มบีวี (MBV; Monodon baculovirus) ไม่ได้ก่อให้เกิดการตายของกุ้งกุลาดำในระยะกุ้งเต็มวัย แต่เป็นสาเหตุทำให้กุ้งเติบโตช้าส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และการติดเชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักให้กุ้งระยะ larva, post larva และ juvenile ตายถึง 90% ซึ่งเป็นปัญหาแก่โรงเพาะฟัก การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสทำได้ด้วยการตรวจทางเนื้อเยื่อวิทยาโดยตรวจหาก้อนโปรตีน (inclusion body) ในนิวเคลียสของเซลล์ตับและตับอ่อนด้วยการทำ squash mount เซลล์ตับและตับอ่อนแล้วย้อมด้วยมาลาไคล์กรีนหรือย้อมด้วยฮีมาโตไซลินและอิโอซินบนเนื้อเยื่อตับที่ตรึงบนแผ่นสไลด์ ในปัจจุบันใช้วิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสในระดับชีวโมเลกุลด้วยเทคนิค polymerase chain reaction (PCR) ซึ่งวิธีการ PCR ที่พัฒนาโดย Belcher and Young (1998) เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือและนิยมใช้ในการตรวจโรคไวรัส MBV ที่ระบาดในประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และไทย ต่อมาได้พัฒนาวิธีการตรวจให้มีความแม่นยำขึ้นกว่า PCR เช่น real time PCR และ loop-mediated isothermal amplification (LAMP) เนื่องจากการตรวจเชื้อด้วย PCR ไม่เหมาะสมต่อการตรวจในฟาร์ม ทำให้มีการพัฒนาวิธีการตรวจเชื้อโดยใช้หลักการทางอิมโมโนวิทยา (immunological method) ด้วยการผลิตแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส เพื่อพัฒนาเป็นแผ่นตรวจไวรัส (immunochromatographic strip test) แม้วิธีการตรวจไวรัสด้วยชุดตรวจสอบ จะมีความแม่นยำน้อยกว่าการตรวจด้วย PCR แต่ชุดตรวจสอบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ได้ง่ายในการปฏิบัติงานฟาร์ม ขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้อง
อาศัยเครื่องมือราคาแพงและเกษตรกรสามารถตรวจสอบได้เอง ซึ่งนำไปสู่การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.