CaCu3Ti4O12: วัสดุแห่งอนาคต เพื่อการประดิษฐ์เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้าขนาดจิ๋ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบัน วัสดุไดอิเล็กตริกที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกสูงได้มีบทบาทต่อการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋วในเรือนของไมโครเมตรเป็นอย่างมาก เช่น ตัวเก็บประจุไฟฟ้าและอุปกรณ์ความจำ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ประดิษฐ์จากวัสดุที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกสูงและมีค่าการสูญเสียทางไดอิเล็กตริกที่ต่ำ วัสดุเซรามิก CaCu3Ti4O12 จึงเป็นวัสดุที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางในปัจจุบันทั้งในด้านการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการศึกษาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจาก CaCu3Ti4O12 เป็นวัสดุที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกที่สูงมากในช่วง 103-105 ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางจุลภาคและเงื่อนไขของกระบวนการสังเคราะห์ สำหรับพฤติกรรมการมีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกที่สูงมากของวัสดุเซรามิก CaCu3Ti4O12 เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีสาเหตุเนื่องจากกลไกการโพลาไรเซชันแบบ Maxwell-Wagner ที่ขอบเกรน อย่างไรก็ตาม วัสดุเซรามิก CaCu3Ti4O12 ยังคงมีค่า tanδ ที่สูงมาก ดังนั้นการศึกษาเพื่อหาเงื่อนไขเพื่อลดค่า tanδ โดยการควบคุมโครงสร้างทางจุลภาคและการเจือด้วยไอออนของโลหะต่างๆ ใน CaCu3Ti4O12 จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.