การศึกษาการผลิตไวน์กระชายขาวผสมน้ำผึ้ง และมะนาวโดยใช้เชื้อยีสต์ผงทางการค้า

ผู้แต่ง

  • ๋Jittima Khorungkul -

คำสำคัญ:

ไวน์สมุนไพร, กระชายขาว, น้ำผึ้ง, น้ำมะนาว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการผลิตไวน์กระชายขาวผสมน้ำผึ้งมะนาวโดยใช้เชื้อยีสต์ผงทางการค้า และศึกษาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ไวน์ 4 สูตร ตามอัตราส่วนของกระชายขาวและน้ำผึ้งที่แตกต่างกัน คือ สูตร 1 กระชายขาว 1500 กรัม น้ำผึ้ง 800 กรัม น้ำมะนาว 8 กรัม, สูตร 2 กระชายขาว 1500 กรัม น้ำผึ้ง 1000 กรัม น้ำมะนาว 8 กรัม สูตร 3 กระชายขาว 1000 กรัม น้ำผึ้ง 1000 กรัม น้ำมะนาว 8 กรัม และสูตร 4 กระชายขาว 1000 กรัม น้ำผึ้ง 800 กรัม น้ำมะนาว 8 กรัม โดยปรับค่า    oบริกซ์ และ pH เริ่มต้นของทั้ง 4 สูตร ที่ 20 oบริกซ์ และ pH เท่ากับ 4  ทำการวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด ปริมาณแอลกอฮอล์ ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้ในรูปกรดแล็กติก ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และทำการทดสอบทางด้านประสาทสัมผัส กลิ่น สี รสชาติ ของผู้บริโภคที่มีต่อไวน์ ทั้ง 4 สูตร จำนวน 3 รอบ ผลการทดลองพบว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 รอบ มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดอยู่ในช่วง 6-7 oบริกซ์ มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ในช่วงร้อยละ 10-11 มีค่าปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้ในรูปกรดแล็กติกอยู่ในช่วงร้อยละ 1.95-2.25 และมีค่า pH อยู่ในช่วง 3.55-3.81 ผลการทดสอบด้านประสาทสัมผัสของผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์ไวน์ระหว่างสูตรที่ 1 กับสูตรที่ 2 และสูตรที่ 3 กับสูตรที่ 4 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≥0.05) โดยไวน์สูตรที่ 1 และ 2 ได้รับคะแนนการยอมรับสูงที่สุดในด้านรสชาติและการยอมรับโดยรวม ไวน์สูตรที่ 2 และ 3 ได้รับคะแนนการยอมรับสูงที่สุดในด้านกลิ่นและความใส

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณิต วิชิตพันธุ์. การวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์. เอกสารประกอบการสัมมา เรื่อง หลักและเทคนิคที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตสุรา กลั่นจากข้าว; 26 กันยายน 2548; ขอนแก่น.

เจนจิรา ชมภูคำ, วีระพงษ์ ทรัพย์นำ และ ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์. (2557). ผลของอัตราส่วนประกอบต่อคุณภาพของไวน์เปลือกกาแฟและความพึงพอใจของผู้บริโภค. แก่นเกษตร. 42(3): 415-420.

ณเดช เข็มคง และ นุศรา เข็มเจริญ. (2555). กระชายขาวน้ำผึ้งมะนาว. เข้าถึงได้จาก: https://1th.me/4Zu9f.

ประดิษฐ์ ครุวัณณา. (2547). การผลิตไวน์จากพืชสมุนไพร. อาหาร. 31(2):79-84.

พัฒนา เหล่าไพบูลย์ และ พรเทพ ถนนแก้ว. (2549). การวิเคราะห์องค์ประกอบในน้ำผลไม้. ใน ไพบูลย์ ด่านวิรุทัย, พัฒนา เหล่าไพบูลย์ (บรรณาธิการ), ไวน์ผลไม้และสาโทผลิตด้วยความมั่นใจได้อย่างไร. (58-52) พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา.

ลำดวน (ม.ป.ป.). น้ำผึ้งมะนาว. เข้าถึงได้จาก https://sgethai.com/article/น้ำผึ้งมะนาว-สรรพคุณเด่น/.

ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2565). สมุนไพรไทย กับ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19. เข้าถึงได้จากhttps://mpic.mfu.ac.th/fileadmin/mpic_file/ news/2564/05/Review_Finaly_Edit.pdf

อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ สุนันทิด สิงหพล. (2559). การผลิตไวน์สับปะรดผสมแครอท. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร; 47(2):165-169.

Cheese wine. (2562). การทำงานของยีสต์ในกระบวนการหมักไวน์. เข้าถึงได้จาก http://1th/me/4Zu9f.

Vejthani (2021). เช็กให้ชัวร์ กระชายขาวช่วยต้าน COVID-19 ได้จริงหรือ?. เข้าถึงได้จาก http://www.vejthani.com/th/2021/07/.

Zoecklein BW, Fugelsang KC, Gump B H and Nury FS. (1995). Wine Analysis and Production. New York: Chapman & Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย