การพัฒนาจากสารสกัดชากลีบดอกกุหลาบ (Rosa spp.) ในรูปแบบเม็ดฟู่

ผู้แต่ง

  • Laddawan Kongplee -

คำสำคัญ:

ชา, สารสกัดกลีบดอกกุหลาบ, เม็ดฟู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากการสกัดของกลีบดอกกุหลาบ (Rosa spp.)
สายพันธ์ไฮบริดที (Hybrid tea) ในรูปแบบเม็ดฟู่ ด้วยวิธีสกัดแบบการหมัก (Maceration) ในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ระเหยตัวทำละลายออกโดยการใช้ความเย็น (Freeze dryer) จะได้สารสกัดกลีบดอกกุหลาบที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10, 20, 30, 40 และ 50 น้ำหนักโดยปริมาตร (% w/v) จากนั้นขึ้นรูปในรูปแบบของเม็ดฟู่ ผลศึกษาคุณภาพของชาในด้านความสามารถในการละลาย พบว่า ชาสูตรควบคุมมีความสามารถในการละลายสูงสุด (33.33 วินาที) รองลงมาคือสูตรที่ใช้สารสกัด
กลีบดอกกุหลาบความเข้มข้น 50 %w/v (36.33 วินาที) และความเข้มข้น 40 %w/v (36.67 วินาที) ตามลำดับ การศึกษาความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบว่า มีค่าความเป็นกรดในช่วง pH 4.41-6.73 จากการทดสอบความแปรปรวนพบว่าค่าเฉลี่ยความสามารถในการละลายและความเป็นกรด-ด่างของชา
แต่ละสูตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ตรวจสอบคุณภาพสีโดยใช้ระบบค่าสีมันเซลล์ (Munsell color system ) ให้สีเฉดแดงซีดถึงแดง (Pale red – Red) ผลการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ มีความชอบโดยเฉลี่ยสูงสุดในด้านของสี ความขุ่น/ใส กลิ่น ความรู้สึกหลังกลืน และความชอบโดยรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชอบในสูตรที่เติมสารสกัดความเข้มข้น 40 %w/v มากที่สุด มีระดับความชอบโดยรวมเท่ากับ 7.63 คือชอบปานกลาง ได้รับความยอมรับและความพึงพอใจต่อชาตัวอย่าง ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจะนำข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในลำดับต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กชมน ยอดขำ และ ธวัชชัย แพรมัด. (2554). การพัฒนาตำรับแกรนูลฟองฟู่ของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์. เอกสารในรายงานการประชุมวิชาการศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 4 บูรณาการศาสตร์และศิลป์ คือ ศิลปากร (น.335-338). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2553). แอนโทไซยานิน. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ชัยพร ภัทรวารีกุล, วิการดา ศรีจรัสรุ่ง และ สันทัด พรประเสริฐมานิต. (2551). ความพึงพอใจของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นริศา เรืองศรี, อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล และ อลงกต สิงห์โต. (2561). การยอมรับและความพึงพอใจต่อตำรับอาหารลดหวานมันเค็ม. บูรพาเวชสาร. 5(2), 38-49.

พสุธร อุ่นอมรมาศ และ สรณะ สมโน. (2559). การวิเคราะห์หาสารสำคัญและฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้บางชนิด. วารสารเกษตร. 32(3), 435-445.

ไพลิน กันทา และ อดิศร กระแสชัย. (2546). การปรับปรุงพันธุ์กุหลาบลูกผสม. วารสารเกษตร. 19(3), 216-233.

ยุพาภรณ์ จิโรภาสภาณุวงศ์ และ วุฒิชัย ศรีช่วย. (2560). การเปรียบเทียบปริมาณแอนโธไซยานินในแคลลัส กลีบดอก และใบอ่อนของกุหลาบหูหนู. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(1), 143-150.

สุภาวดี สำราญ. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตชาใบสะท้อน. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences. 19(2), 316-325.

Meilgaard, M., Civille, G.V., & Carr, B.T. (1999). Sensory Evaluation Techniques (3rd ed.). USA: CRC Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30