การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
ต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ, เอกลักษณ์ของชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน และ 2) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มจักสานชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) ต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจศึกษาสภาพทั่วไปและบริบทของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 3 พัฒนาตามต้นแบบและถ่ายทอดสู่ชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน ได้นำภูมิปัญญาและวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนมาเป็นแนวทางในการพัฒนาต้นแบบ โดยเน้นใช้วัสดุและทรัพยากรที่มีในชุมชนเป็นหลัก โดยได้พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟทั้งหมด 3 ต้นแบบ ดังนี้ 1) ไซดักปลา 2) ข้องใส่ปลา และ 3) ปลาช่อน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟไซดักปลาในภาพรวมมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.51) รองลงมา คือข้องใส่ปลา ( = 4.31, S.D. = 0.56) และ ปลาช่อน ( = 4.26,S.D. = 0.58) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากตามลำดับ
Downloads
References
ณัฎวรัตน์ ขจัดภัย, พิชัย สดภิบาล และอุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2556). การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดของที่
ระลึกที่สะท้อนเอกลักษณ์พื้นถิ่นสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.วารสารวิชาการศิลปะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 4(1), 102-114.
ณัฐธิกานต์ ปิ่นจุไร, ธนกิจ โคกทอง, ธนสิทธิ นิตยประภา, และสาวิตรี พรมรักษา. (2564). การออกแบบ
และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านทรัพย์เจริญ ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารดีไซน์เอคโค่. 2(1), 34-45.
ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
บุญเลิศ มรกต และกฤตกร กล่อมจิต. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาหัตถกรรมจักสานครุน้อย
บ้านสะอาง ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์ และฉันทนา สุรัสวดี. (2557). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนโดยใช้
วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน บ้านคลองเดื่อพัฒนาตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
รัฐไท พรเจริญ. (2546). เส้นและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น).
ศักดิ์ชาย สิกขา, ประทับใจ สิกขา และธันยมัย เจียรกุล. (2558). การพัฒนางานหัตถกรรมไม้ไผ่ในภาคอีสาน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6(1), 110-120.
สุกัญญา พยุงสิน. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวทางการ
ท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษาบ้านวังขรณ์ หมู่ 11 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 16(2), 45-58.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2560). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.