การยับยั้งแบคทีเรียจากสารสกัดข้าวหมากข้าวมีสี

ผู้แต่ง

  • ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ:

ข้าวมีสี, ข้าวหมาก, การยับยั้งแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้น และประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียจากของสารสกัดข้าวหมากจากข้าวมีสี ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวมะลินิล ข้าวหอมนิล ข้าวหอมนิลจักรพรรดิ์ ข้าวก่ำ ข้าวลืมผัว ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวดำหมอ ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวสังข์หยด ที่สกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 95 โดยใช้สารสกัดหยาบทดสอบกับแบคทีเรียทดสอบ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Micrococcus luteus, Bacillus subtilis, S. aureus DMST 8840, B. cereus DMST 5040, E. coli DMST 4212 และListeria monocytogenes DMST 17303 ด้วยวิธีการ Paper Disc Diffusion จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดข้าวหมากมีปริมาณร้อยละผลผลิตอยู่ในช่วง 16.21-20.87 ของน้ำหนักแห้ง มีค่าความเป็นกรด -  เบส อยู่ในช่วง 2.63 - 3.06 ค่าสี L* a* และ b* ของสารสกัดข้าวหมากอยู่ในช่วง 20.28 - 23.60, 2.50 - 3.60 และ 2.27 - 6.24 ตามลำดับ และเมื่อทดสอบการยับยั้งแบคทีเรีย พบว่า สารสกัดข้าวหมากข้าวมีสีทุกตัวอย่างสามารถยับยั้งแบคทีเรียทดสอบได้ทุกสายพันธุ์ ซึ่งสารสกัดข้าวหมากจากข้าวลืมผัว มีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย B. cereus DMST 5040 มากที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณวงใส 9.50±2.90 mm โดยความเข้มข้นต่ำสุดที่ 5 mg/ml ของสารสกัดหยาบสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ทุกสายพันธุ์ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณวงใสระหว่าง 6.75±0.15-8.25±1.65 mm และสามารถยับยั้งแบคทีเรีย M. luteus มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์, ศศมล ผาสุข และวีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2561). สารประกอบฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดข้าวหมากจากข้าวมีสี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันครั้งที่ 6 (น. 582-588). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์. (2564). องค์ประกอบทางเคมีของข้าวหมากจากข้าวมีสีพันธุ์พื้นเมืองโดยใช้ลูกแป้งจากแป้งข้าวเจ้าสำเร็จรูป. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 16(2), 1-14.

ธนิฏฐา เที่ยงแท้, เจริญ เจริยชัย, สาธิรัตน์ รัตนวงศ์ปาล, อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ และปาลิดา ตั้งอนุรัตน์. (2559). คุณสมบัติด้านโปรไบโอติกของแบคทีเรียทีแยกจากข้าวหมาก. ใน การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ (น.1613-1620) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี.

พัชราภรณ์ สมเทศ, คมสัน อำนวยสิทธิ์, สุขุมวัฒน์ พีระพันธุ์, และพรรณระพี อำนวยสิทธิ์. (2558). การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคของมนุษย์ด้วยสารสกัดจากข้าวเมล็ดสีม่วง. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 (น.574-581)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

พัชราภรณ์ รัตนธรรม, ณัฏฐา เลาหกุลจิตต์ และอรพิน เกิดชูชื่น. (2556). สารประกอบฟีนอลิก แอนโท ไซยานิน และสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ ของข้าวกล้องสีงอก. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(2) (พิเศษ), 441-444.

ยศพร พลายโถ. (2559). ฤทธิ์การป้องกันภาวะเครียดจากออกซิเดชันในเซลล์ลำไส้มนุษย์ ของข้าวหมากจากข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24(5) (พิเศษ), 814-830.

วรางคณา รัตนะ และวัชรี หาญเมืองใจ. (2558). ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดข้าวหมากจากข้าวเหนียวกล้องและข้าวเหนียวกล้องงอก. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และนานาชาติครั้งที่ 6 (น. 412-421) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ.

วาสินี พงษ์ประยูร และอติกร ปัญญา. (2559). ลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์และคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ด ข้าวขึ้นและข้าวน้ำลึกในภาคตะวันออกของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). พะเยา: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลลักษณ์ กล่อมพงษ์. (2561) ผลของข้าวเหนียวดำสายพันธุ์พื้นบ้านจังหวัดพัทลุงฯ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 21(3) (พิเศษ), 43-50.

อรุณทิพย์ เหมะธุลิน, สกุลกานต์ สิมลา, สุรศักดิ์ บุญแต่ง และสุดาทิพย์ อินทร์ชื่น. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าสี (L*, a* และ b*) กับปริมาณแอนโทไซยานินในเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 40(4): 59 – 64.

Sani, N. A., Sawei, J., Ratnam, W., & Rahman, Z. A. (2018). Physical, antioxidant and antibacterial properties of rice (Oryza sativa L.) and glutinous rice (Oryza sativa var. glutinosa) from local cultivators and markets of Peninsular, Malaysia. International Food Research Journal, 25(6).

Cortez, R., Luna‐Vital, D. A., Margulis, D., & Gonzalez de Mejia, E. (2017). Natural pigments: stabilization methods of anthocyanins for food applications. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety, 16(1), 180-198.

Das, A. B., Goud, V. V., & Das, C. (2017). Extraction of phenolic compounds and anthocyanin from black and purple rice bran (Oryza sativa L.) using ultrasound: A comparative analysis and phytochemical profiling. Industrial Crops and Products, 95, 332-341.

Ghosh, K., Ray, M., Adak, A., Dey, P., Halder, S. K., Das, A., . . . Pati, B. R. J. F. C. (2015). Microbial, saccharifying and antioxidant properties of an Indian rice based fermented beverage. Food Chemistry, 168, 196-202.

He, J., Giusti, M. M. J. A. r. o. f. s., & technology. (2010). Anthocyanins: natural colorants with health-promoting properties. Annual Review of Food Science and Technology, 1, 163-187.

Kabuki, T., Nakajima, H., Arai, M., Ueda, S., Kuwabara, Y., & Dosako, S. i. J. F. c. (2000). Characterization of novel antimicrobial compounds from mango (Mangifera indica L.) kernel seeds. Food Chemistry, 71(1), 61-66.

Manosroi, A., Ruksiriwanich, W., Kietthanakorn, B.-o., Manosroi, W., & Manosroi, J. J. F. r. i. (2011). Relationship between biological activities and bioactive compounds in the fermented rice sap. Food Research International, 44(9), 2757-2765.

Pramai, P. and Jiamyangyuen, S. (2016). Chemometric classification of pigmented rice varieties based on antioxidative properties in relation to color. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 38 (5), 463-472.

Pumirat, P. and Luplertlop, N. (2013). The In-vitro antibacterial effect of colored rice crude extracts against Staphylococcus aureus associated with skin and soft-tissue infection. Journal of Agricultural Science, 5(11): 102-109.

Wattanuruk, D., Phasuk S. Nilsang, P. and Takolpuckdee, P. (2020). Total Phenolics, Flavonoids, Anthocyanins andAntioxidant Activities of Khaow-Mak Extracts from Various Colored Rice. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science. 13(1), 10-18.

Suwannalert, P., & Rattanachitthawat, S. (2011). High levels of phytophenolics and antioxidant activities in Oryza sativa–unpolished Thai rice strain of Leum Phua. Tropical Journal of Pharmaceutical Research, 10(4), 431-436.

Shyuichiro, I., Takahiro, K., Shizuka, M. and Tomoyuki, F. (2013). Composition and Antioxidant Activity of Rice Fermented with Saccharifying Organisms from Asian Countries. Food Science and Technology Research. 19 (5): 893–899.

Tikapunya, T., Henry, R.J. and Smyth, H. (2018). Evaluating the Sensory Properties of Unpolished Australian Wild Rice. Food Research International. 103, 406-414.

Yodmanee, S., Karrila, T.T. and Pakdeechanuan, P. (2011). Physical, chemical and antioxidant activity of pigmented rice grown in Southern Thailand. International Food Research Journal. 18(3): 901-906.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30