การพัฒนาโยเกิร์ตพร้อมดื่มเสริมบีทรูท
คำสำคัญ:
โยเกิร์ต, โยเกิร์ตพร้อมดื่ม, บีทรูทบทคัดย่อ
โยเกิร์ตเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นิยมบริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่วยในการทํางานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตจึงมีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น การศึกษานี้จึงทำการศึกษาการผลิตโยเกิร์ตพร้อมดื่มเสริมบีทรูท โดยศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตโยเกิร์ตพร้อมดื่มเสริมบีทรูท และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตพร้อมดื่มเสริมบีทรูท โดยศึกษาปริมาณบีทรูทที่เหมาะสมต่อการผลิตโยเกิร์ตพร้อมดื่มเสริมบีทรูท โดยแปรผันปริมาณบีทรูทเท่ากับร้อยละ 5 10, 15, 20 และ 25 (ปริมาตรต่อปริมาตร) ทำการวิเคราะห์ทางเคมีจุลชีววิทยา และลักษณะทางกายภาพ โดยลักษณะที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีดังต่อไปนี้คือ สี กลิ่น รสชาติ และทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภค จากการทดลองพบว่าค่าความหวาน ค่าพีเอชมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกชั่วโมงของโยเกิร์ตสูตรมาตรฐาน ส่วนปริมาณกรดจะมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเติมบีทรูทลงในโยเกิร์ต พบว่าทุกสูตรมีปริมาณกรดลดลงและมีปริมาณความหวานเพิ่มขึ้น ส่วนผลการการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตพร้อมดื่มเสริมบีทรูท โดยการประเมินคุณลักษณะประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และการความชอบโดยรวมของผู้ทดสอบ พบว่าสูตรที่ 3 เสริมบีทรูทร้อยละ 15 มีค่าความพึงพอใจโดยรวมสูงสุด และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้พลังงานและไขมันต่ำ
Downloads
References
จารุวรรณ ศิริพรรณพร. (2543). โยเกิร์ตอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารอาหาร. 30(4):292-297.
พรรณวิภา แพงศรี นิตยา ทันใจ นิตยา ลีทอง วชิรวิชญ์ ชุมชิต. (2562). การศึกษาเบื้องต้นในการผลิตโยเกิร์ตกล้วยน้ำว้า. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 10 (หน้า 394-398). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วราวุฒิ ครูส่งและรุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. (2532). เทคโนโลยี การหมักในอุตสาหกรรมอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ วังบูรพา.
สุรัตน์ วังพิกุล วิรัชนีย์ แก่นแสนดี สมพร มูลมั่งมี และปริยาภรณ์ อิศรานุวัฒน์ (2558). การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตน้ำนมข้าวโพดด้วยโปรไบโอติกแลคติกแอสิดแบคทีเรีย (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์ กฤตภาส จินาภาคและศิริพร ทวีโรจนการ (2561). การผลิตโยเกิร์ตพร้อมดื่มจากน้ำเงาะและการเหลือรอดของแบคทีเรียแลคติก. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12(2).
อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ (2555). การผลิตนมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่เสริมด้วยฟักข้าว.วารสารเทคโนโลยีอาหารมหาวิทยาลัยสยาม, 7(1), 23-30.
AC, A. (1990). Official methods of analysis of the Association of Official Analytical Chemists f 15th ed. V Arlington, VA: AO AC Inc.