การศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจของการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์

ผู้แต่ง

  • อมีนา ฉายสุวรรณ

คำสำคัญ:

คุณภาพและความพึงพอใจ, การ์ตูนแอนิเมชัน, ผลไม้มหัศจรรย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ 2)ประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งสุ่มได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา (ชั้นปีที่ 1- 6) โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง ตำบลบ้านแป้ง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย1) การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ โดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพโดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.58 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์ โดยภาพรวมของคุณภาพทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.52 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชมชนก ศรีจันทร .(2561). พัฒนาสื่อการสอนทางด้านโภชนาการสําหรับผู้ป่วยเด็ก. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 3(1),13-16.

ดนัยพร ลดากุล และปุญญรัตน์ ปุญญา. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ สำหรับ นักเรียนช่วงชั้น ที่ 2. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(1), 64-71.

ดวงพร ไม้ประเสริฐ และอลงกรณ์ ม่วงไหม .(2563). การพัฒนาแอนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1) , 99-109.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย = Statistics for research. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนั่น สระแก้ว ปรัชญา เฉลิมวัฒน์. (2554). เรื่องที่ ๗ แอนิเมชัน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (เล่มที่ 36). กรุงเทพ: ม.ป.พ.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2558). คู่มือการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ในเด็กวัยเรียน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ .สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อมีนา ฉายสุวรรณ. (2561). การพัฒนาภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์พลังงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 59-70.

อรวรรณ แซ่อึ่ง. (2563). ความพึงพอใจที่มีต่อเเอนิเมชันเครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(2), 34-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30