ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี ของช่างแต่งผมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ชลลดา พละราช มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ลัดดาวัลย์ กงพลี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การใช้สารเคมีของช่างแต่งผม, อันตราย

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างแต่งผม จำนวน 92 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิตไคสแควร์และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าช่างแต่งผมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 89.10 มีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย 10.92 ชั่วโมงต่อวัน และมีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 9.85 ปี พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างแต่งผม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 94.60 ระดับการศึกษาและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และปัจจัยด้านการทำงาน ด้านความรู้ความปลอดภัย ด้านทัศนคติความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธีรวิโรจน์ เทศกะทึก. (2561). การจัดการทางอาชีวอนามัยและสวัสดิการในสถานประกอบการ. (1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีณา ลิมปิทีปราการ พลากร สืบสำราญและขนิญญา ปุยฝ้าย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของผู้ประกอบอาชีพบริการตกแต่งผม-เสริมสวย ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ในการประชุมวิชาการด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 8. (1-19). อุบลราชานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พิมาน ธีระรัตนสุนทร บุญเรือง ฮุงหวล และมุกดาวรรณ ยวงเดชกล้า. (2560). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจาการรับสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ของผู้ประกอบอาชีพช่างเสริมสวย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 26(3). 506-516.
พรแก้ว เหลืออัมพรและคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวย ในกรุงเพทมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 28(2). 51-64.
สมศักดิ์ ศิริวนารังสรรค์ และ ทัยธัช หิรัญเรือง.(2559). การศึกษาคุณภาพอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศในสถานบริการแต่งผม-เสริมสวย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. 18(1), 47-59.
โสมศิริ เดชารัตน์. (2560). สุขภาภิบาสิ่งแสดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านเสริมสวย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 10(35). 10-20.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th
อาภาพร เผ่าวัฒนา สุรินธร กลัมพากร และวีณา เที่ยงธรรม. (2555). การวิเคราะห์งานวิจัยการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่เผยแพร่ในวารสารพยาบาลสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2552. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 26(2). 23-43.
Pender, N. J., Murdaugh, C. (2006). Health promotion in nursing practice. Norwalk Connecticut: Appleton&Lange. 5(1). 153-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31