การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ปรับปรุง พุทธศักราช 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

Main Article Content

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู
อัญชัน เพ็งสุข
ชานนท์ อนันต์สลุง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ปรับปรุงพุทธศักราช 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ปีการศึกษา 2563 กลุ่มประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือผู้บริหาร ครู/อาจารย์ ผู้ปกครอง และนักเรียนที่ศึกษาในหลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ปรับปรุงพุทธศักราช 2562) ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้นจำนวน 237 คน เครื่องมือในงานวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ปรับปรุงพุทธศักราช 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ปีการศึกษา 2563 ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู/อาจารย์ ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยจำแนกตามความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้สอน (gif.latex?\bar{x} = 4.12, S.D. = 0.59) ด้านการจัดการเรียนการสอน (gif.latex?\bar{x} = 4.70, S.D. = 0.66) ด้านหลักสูตร (gif.latex?\bar{x} = 3.99, S.D. = 0.67) ด้านการวัดและประเมินผล (gif.latex?\bar{x} = 3.96, S.D. = 0.58) และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (gif.latex?\bar{x} = 3.79, S.D. = 0.71) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.99, S.D. = 0.64)

Article Details

How to Cite
ฟันเฟื่องฟู ว., เพ็งสุข อ., & อนันต์สลุง ช. (2021). การศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ปรับปรุง พุทธศักราช 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 122–134. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/245447
บท
บทความวิจัย

References

Phonrungrlod, C. (2016). Breaking barriers towards a millennium of quality. Bangkok: Office for National Education Standards and Quality Assessment. 1. (in Thai)

Thepkanjana, P. (2016). Breaking barriers towards a millennium of quality: Educational quality assessment report. Bangkok: Office for National Education Standards and Quality Assessment. 69. (in Thai)

Bunditpatanasilpa Institute. (2019). Performing and musical arts of secondary school curriculum (Arts updated 2019)-Lopburi College of dramatic. Nonthaburi: Thaiphum. 1. (in Thai)

Sisaat, B. (2010). Preliminary research. 8nd ed. Bangkok: Suwiriyasan. 121. (in Thai)

The teachers council's regulations on professional ethics B.E. 2556. (2013). Royal Thai Government Gazette. Vol. 130, Special part 30d. 74. (in Thai)

Bilbai, S. (2015). Performance skills and roles of Thai teachers in the 21st century. Bangkok: College of Teacher Education Phranakhon Rajabhat University. 5. (in Thai)

Lampang Rajabhat University. (2013). Student-centered manual of the Faculty of Humanities and Social Sciences. Lampang: Lampang Rajabhat University. 5. (in Thai)

Khemmani, T. (2020). Science of teaching pedagogy: Knowledge for the management of the learning process effective. 23rd ed. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University. 119. (in Thai)

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace Jovanovich. 12.

Pattphon, M. (2019). Contemporary curriculum development model. Bangkok: n.p.. 21. (in Thai)

Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act, B.E. 1999 and its updated, B.E. 2002. Bangkok: Siam Sport Syndicate. 5. (in Thai)

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives. Handbook II: Affective domain. New York: Mckay. 164-166.

Lopburi College of Dramatic Arts. (2021). Self assessment report: SAR; Elementary Education Lopburi College of Dramatic Arts. [unpublished]. Lopburi: n.p.. 61. (in Thai)

Abdulloh, W., & Niemted, W. (2020). “Arrangement of learning environment to promote learning skills in the 21st century, concept theory and practice.” Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences. 7(2), 242-243. (in Thai)