โมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอนสำหรับเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

Main Article Content

มณฑา ชุ่มสุคนธ์
จุฬารัตน์ วัฒนะ
สมสุดา ผู้พัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างโมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอนสำหรับเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ก่อนและหลังใช้โมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอน   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้นแบบ One Group Pretest - Posttest Design กลุ่มที่ศึกษา คือ เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านท่าแร่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนครที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการศึกษาบริบทและสำรวจสภาพปัญหาของเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตพฤติกรรม 2) เครื่องมือในการทดลอง คือ โมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอนประกอบด้วย 6 หน่วย และ 3) เครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ของเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทักษะกระบวนการปฏิบัติ และแบบวัดความคิดเห็นของเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) โมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอนสำหรับเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมี 6 หน่วย (Unit) แต่ละหน่วยประกอบด้วย วัตถุประสงค์  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอน 4 วิธี คือ การอธิบาย สนทนา ซักถามให้เข้าใจชัดเจน (สันทัสสนา), ทำการสาธิตให้ยอมรับและปฏิบัติตาม (สมาทปนา), เผชิญสถานการณ์เพื่อปลุกเร้าให้เกิดความกระตือรือร้น (สมุตเตชนา) และแข่งขันเกมให้เกิดความเพลิดเพลินสนุกกับการปฏิบัติ(สัมปหังสนา) สื่อในการดำเนินกิจกรรมและประเมินผล  และ 2) ผลการเรียนรู้ของเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ภายหลังใช้โมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอนเรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความรู้ ความคิดเห็น และทักษะกระบวนการปฏิบัติมากกว่าก่อนใช้โมดูล 

Article Details

How to Cite
ชุ่มสุคนธ์ ม., วัฒนะ จ., & ผู้พัฒน์ ส. (2014). โมดูลการเรียนรู้ที่ยึดหลักพุทธวิธีการสอนสำหรับเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), 168–175. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/26448
บท
บทความวิจัย

References

[1] สิริธร คมน์ทิพยรัตน์.2547.การใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการจัดการน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวละลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาหว่านน้ำตม. บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิชาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[2] สถาบันวิจัยข้าวอินทรีย์.2542. หลักการผลิตข้าวอินทรีย์. กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร.

[3] สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.2550.มาตรฐานเกษตรอินทรีย์. นนทบุรี : สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์.

[4] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.2554.“ข้าวอินทรีย์: ศักยภาพการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttps://www.positioningmag.com (วันที่ค้นข้อมูล 5 กรกฎาคม 2554).

[5] สังคม เตชะวงศ์เสถียร. 2547. วิทยาการหลังเก็บเกี่ยวของพืช. ขอนแก่น : ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[6] บุญดิษฐ์ วรินทร์รักษ์และคณะ. 2550. รูปแบบการผลิตพืชสำหรับข้าวหอมมะลิไทยอินทรีย์. กรุงเทพฯ : กรมการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

[7] ลือชัย โพธิ์วิชัย. 2544. การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า.บัณฑิตวิทยาลัยครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

[8] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). 2547. พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ :ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม.

[9] บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

[10] บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543. นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[11] อรทัย สมใส. (2546). ความต้องการฝึกอบรมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[12] อารยา มุสิกา.2556. พุทธปรัชญากับการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,12 (2), น.205 – 210.

[13] สุรพล วิบูลย์ญาณ.2554.ทัศนคติการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ของชาวนาในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[14] ยุวนุช กุลาตีและคณะ. 2556. การประยุกต์ใช้อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) ช่วยในการจัดการความรู้ให้กับเกษตรกรกับการผลิตข้าวแบบเกษตรอินทรีย์. คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม.

[15] ยงยุทธ ศรีเกี่ยวฝั้นและคณะ. 2555. การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์และการบริหารจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[16] Speck, M. 1996. Best practice in professional development for sustained educational change. ERS Spectrum

[17] Vella, J. 1994. Learning to Listen, Learning to Teach. San Francisco : Jossey Bass.

[18] สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. 2544. จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ : ธีระป้อมวรรณกรรม.

[19] ศุภชัย สุทธิเจริญ. 2551. การยอมรับการปลูกข้าวอินทรีย์โดยใช้ข้าวกล้องพันธุ์หอมแดงของเกษตรกร ในอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[20] อภิชิต ตานะเศรษฐ์. 2553. สู่การเรียนรู้ตามกระบวนการ “โรงเรียนเกษตร”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.tissue.agriqua.doae.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล 23 พฤษภาคม 2555).