การประเมินความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นของตนเอง เปรียบเทียบข้อมูลจากบันทึกการประเมินตนเองและผลสอบในชั้นเรียน

Main Article Content

ฟูมิยาซึ มาเอโนะ
นัทธมน ตั้งบุญธินา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้  ใช้วิธีจัดกิจกรรมการประเมินตนเองในวิชาสนทนาภาษาญี่ปุ่นระดับต้นโดยได้แนวคิดหลักจากกระบวนการการประเมินมาจากงานวิจัยของ Kajita  คือ 1.การกำหนดให้ตนเองเป็นเป้าหมายและประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมา 2.การประเมินซึ่งกันและกัน 3.การคิดวิเคราะห์ 4.เกิดความรู้สึกต่อตนเอง 5.การตัดสินใจพัฒนาตนเอง ผู้วิจัยได้ดำเนินกิจกรรมการประเมินตนเองทั้งก่อนและหลังชั่วโมงเรียนในระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษาเป็นการประเมินโดยเปรียบเทียบกับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ซึ่งนำมาจากการบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ บันทึกกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับกระบวนการ 5 ข้อดังกล่าว สามารถกำหนดพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม และมีการพัฒนาความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ส่วนผู้เรียนที่ไม่มีพฤติกรรมสอดคล้องบางคนไม่มีการพัฒนาที่โดดเด่น บางคนมีการพัฒนาหยุดชะงักลง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การประเมินตนเองโดยการทำความเข้าใจความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นและวิธีการศึกษาของตนเองได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น จะทำให้การพัฒนาความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
มาเอโนะ ฟ., & ตั้งบุญธินา น. (2014). การประเมินความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นของตนเอง เปรียบเทียบข้อมูลจากบันทึกการประเมินตนเองและผลสอบในชั้นเรียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), 12–18. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/26432
บท
บทความวิจัย

References

[1] Japan Foundation.2554.Survey Report on Japanese-Language Education Abroad 2009. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://www.jpf.go.jp/e/japanese/survey/result/dl/2009/2009_03.pdf (วันที่ค้นข้อมูล: 4 เมษายน 2555).

[2] Kajita Eiichi. 2010. 教育評価改訂版 (การประเมินการเรียนการสอนฉบับแก้ไข). Tokyo: yuhikaku Publishing.

[3] รวีวรรณชินะตระกูล, เลิศลักษณ์กลิ่นหอมและไพฑูรย์พิมดี. 2547. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทปีการศึกษา 2542.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 3(1), น. 8-15.

[4] Japan Foundation and Japan Educational Exchanges and Services.2553 The Japanese-Language Proficiencys Test. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://www.jlpt.jp/e/index.html (วันที่ค้นข้อมูล: 4 เมษายน 2555).

[5] 3A Network.1998. みんなの日本語初級本冊(Minna no Nihongo I Honsatsu. Main Textbook Kanji-kana version). Tokyo: 3A Network

[6] Noda Hisashi. 2005. コミュニケーションのための日本語教育文法 (การสอนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร). Tokyo: Kuroshio Publishing.

[7] Makino Akiko, Mizuno Mariko, Tanaka Yone. 2000. みんなの日本語初級初級で読めるトピック25(Minna no Nihongo I Shokyu de Yomeru Topikku 25. Reading Comprehension Text I). Tokyo: 3A Network

[8] Makino Akiko, Mizuno Mariko, Tanaka Yone. 2003. みんなの日本語初級聴解タスク25 (Minna no Nihongo I Chokai Tasuku 25. Listening Comprehension Tasks I). Tokyo: 3A Network

[9] Tamai Ken. 2005. リスニング指導法としてのシャドーイングの効果に関する研究 (งานวิจัยผลสัมฤทธิ์ของ Shadowing ในการสอนการฟัง). Tokyo: Kazama Shobo.

[10] Kohno Toshiyuki. 2004. 1日10分の発音練習(1 nichi 10 pun no Hatsuon Renshu). Tokyo: Kuroshio Publishing.

[11] Emiko Ogasa, Yukari Saiki, Fusako Nakamura. 2011.Practice and Evaluation of Intermediate Level Conversation Task. Bulletin of Tokai Institute of Global Education and Research. Kanagawa: Tokai University. 1,p.91-104

[12] Japan Foundation. 2007. 話すことを教える(Hanasu koto wo Oshieru). Tokyo: Hitsuzi Shobo.