การศึกษาคุณสมบัติเชิงกายภาพ คุณสมบัติเชิงกล และการพัฒนาแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียน ด้วยกระบวนการขึ้นรูปแบบกดอัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษากรรมวิธีการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียนด้วยกระบวนการขึ้นรูปแบบกดอัด ศึกษาคุณสมบัติเชิงกายภาพ และคุณสมบัติเชิงกลของแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียน ผลการวิจัย พบว่า การทดสอบการดัดงอ และการทดสอบการดึงของแผ่นวัสดุสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากเปลือกทุเรียนที่อัตราส่วนของเยื่อทุเรียนต่อน้ำกาว เท่ากับ 1:0.2, 1:0.4, 1:0.6, 1:0.8, 1:1, และ 1:1.5 ตามลำดับ ทดสอบชิ้นงานที่มีขนาด กว้าง 50 ´ ยาว 200 ´ หนา 10 มิลลิเมตร ด้วยเครื่องทดสอบอเนกประสงค์ จำนวน 6 ชิ้นงานตัวอย่างในแต่ละอัตราส่วน พบว่า ค่าความแข็งแรงเชิงกลมีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่ออัตราส่วนของน้ำผสมกาวมีค่าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเยื่อเปลือกทุเรียนมีการเกาะตัวได้ดีขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นสูงขึ้นตามอัตราส่วนที่เพิ่มมากขึ้น และที่อัตราส่วน 1:1.5 มีค่าความแข็งแรงที่สูงที่สุด มีค่าความต้านทานเชิงดัดเฉลี่ย 5.74 เมกะปาสคาล แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐาน มอก. 876-2547 โดยค่าความต้านทานแรงดัด เมกะปาสคาล ไม่น้อยกว่า 14 สำหรับแผ่นชิ้นไม้อัดที่ขนาดความหนาเกิน 6.0-13.0 มิลลิเมตร และมีค่าความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้าเฉลี่ย 0.49 เมกะปาสคาล ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐาน มอก. 876-2547 โดยค่าความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า เมกะปาสคาล ไม่น้อยกว่า 0.40 สำหรับแผ่นชิ้นไม้อัดที่ขนาดความหนาเกิน 6.0-13.0 มิลลิเมตร และการทดสอบอัตราการเผาไหม้ของแผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียน พบว่า อัตราการเผาไหม้มีค่าลดลงเมื่ออัตราส่วนของน้ำผสมกาวที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากชิ้นงานมีความหนาแน่นที่เพิ่มมากขึ้น และในอัตราส่วน 1:1.5 สามารถหยุดการเผาไหม้ได้ด้วยตนเอง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Office of Agricultural Economics. (2020). Durian. http://www.oae.go.th/view/1/TH-TH (in Thai)
Phonieum, T. (2016). Production of particle board from cattail and application for craft [Master’s thesis]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
Samakkitam, H. (2015). The development of acoustic board from durian peel fibers [Master’s thesis]. Chulalongkorn University. (in Thai)
Sukeetham, S., Jarusombuti, S., & Veenin, T. (2019). Particleboard products from bamboo wastes of chopstick factorty. Thai Journal of Forestry, 38(2), 192-201. (in Thai)
Tengrang, S. (2014, October 9). Plastic from durian peel, Thairath. https://www.thairath.co.th/content/455352. (in Thai)
Thai Industrial Standards Institute. (2004). Flatpressed Particleboards (TIS. 876-2004). TISI. (in Thai)
Trade Policy and Strategy Office. (2020). Durian, the king of Thai fruits. http://www.tpso.go.th/home (in Thai)
Weeranukul, P., Ruengrangskul, J., Pradmali, S., & Khamput, P. (2011). The application of coconut meal, corncobs and durian peel as wood-substituted biocomposites in medium density fibreboard [Research Report]. Faculty of Industry Education, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (in Thai)
Yenjai, P., Jarusombuti., S., & Veenin, T. (2016). Particleboard manufacturing from waste of cajuput (Melaleuca cajuputi Powell). VRU Research and Development Journal Science and Technology, 11(2), 131-140. (in Thai)