ออกแบบเครื่องเคาะเซรามิกเพื่อการผ่อนคลาย

Main Article Content

ศุภมาส ศุภผล
อภิสักก์ สินธุภัค

บทคัดย่อ

การออกแบบเครื่องเคาะเพื่อการผ่อนคลายเป็นสื่อกลางในการประกอบกิจกรรมดนตรีสำหรับคนวัยทำงานที่ไม่เป็นดนตรีโดยเคาะจังหวะประกอบบทเพลงตามแนวการสอนของคาร์ล ออร์ฟ ตามขอบเขตพื้นฐานเสียงจากร่างกาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เริ่มฝึกเล่นเครื่องเคาะ ที่เดอะดวก มิวสิค จำนวน 30 คน โดยทดลองเนื้อดินปอร์ซเลนและเนื้อดินสโตนแวร์ เผาเคลือบอุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ออกแบบให้เหมาะสมกับเสียงเคาะ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ขอบปากสัมพันธ์กับความกังวาน โทนเสียงสัมพันธ์กับความหนาบาง การทับซ้อน และส่วนที่ไม่เคลือบเสียงจะแคบลง เสียงชัดเจนเมื่อเคาะด้วยไม้โลหะ ออกแบบเป็น 4 ส่วน สรุประดับความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญ คือ ส่วนที่ใช้นิ้วแบบที่ 2 ขอบปากกว้างรูปแบบเข้าใจง่าย ระดับความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.00, SD = 0.97) ส่วนที่ใช้มือแบบที่ 3 ขอบปากแคบลงรูปแบบสะดวกต่อการถือ ระดับความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}  = 3.98, SD = 1.08) ส่วนที่ใช้ต้นขาแบบที่ 3 ทรงคล้ายโดมเสียงกังวานน้อยลง ระดับความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.01, SD = 0.80) และส่วนที่ใช้เท้า แบบที่ 1 ทรงคล้ายสี่เหลี่ยมลดขอบปากเสียงกังวานน้อย ระดับความเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x}  = 3.97, SD = 0.93) ปรับปรุงตามคำแนะนำและสร้างต้นแบบเพื่อประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มผู้ใช้ พบว่า ส่วนที่ใช้นิ้ว ระดับความพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.07) ส่วนที่ใช้มือ ระดับความพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}  = 3.81) ส่วนที่ใช้ต้นขา ระดับความพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}  = 3.74) และส่วนที่ใช้เท้า ระดับความพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}  = 3.79)

Article Details

How to Cite
ศุภผล ศ., & สินธุภัค อ. (2023). ออกแบบเครื่องเคาะเซรามิกเพื่อการผ่อนคลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 22(3), 80–92. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/253142
บท
บทความวิจัย

References

Binson, B. (2010). Music therapy (2nd ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Boonderek, P. (2005). Music therapy. Fine and Applied Arts Journal, 1(1), 26-29. (in Thai)

Boonrod, V.,Kaenampornpan P., & Vatanasapt, P. (2018). The study of elderly’s experiences in participating music activities using bamboo bell. Journal of International Studies, (8)1, 81-106. (in Thai)

Hopkin, B. (2010). Musical instrument design (7th ed.). See Sharp Press.

Khamchu, P. (2012). Use of Carl Orff-based extra-curricular activities to develop music and drama skills of primary school [Master’s thesis]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

Manit, S. (2014). The design of central region Thai folk ceramic percussion musical instrument. Thammasat University Journal, 33(1), 86-97. (in Thai)

Mgronline. (2018, November 27). The Department of Mental Health is concerned about 50% of the working- age city people with abnormal levels of stress. Mgronline. https://m.mgronline.com/uptodate/detail/9610000096847. (in Thai)

Ministry of Public Health, Department of Mental Health, Office of Mental Health Promotion and Development. (2015). Guidelines for using mental health tools for health workers in community hospitals (Chronic Disease Clinic) Revised Edition. n.p. (in Thai)

Nakrop, S. (2014). Ethnomusicology. Kasetsart. (in Thai)

Nakwong, T. (2004). Music education for children according to Carl Orff. Kasetsart. (in Thai)

Nakwong, T. (2005). Song of Orff-Schulwerk. Kasetsart. (in Thai)

Phonthō̜ngsathit, A., & Chaloēmnirundorn, N. (2017). Basic musical skill developtment using percussion: a case study of the second year air music students. Vannee Sooksatra (Ed), Education 5.0 for Thailand 4.0. Proceedings of The 12th RSU national graduate research conference 2017. (pp. 819-827). RUSJournals. (in Thai)

Phumdoung, S. (2005). Music therapy. Songklanagarind Medical Journal, 23(3), 185-191. (in Thai)

Positioning Editor Team. (2015, 3 July). Thai people work 51 hours a week, the highest in Asia!. https://positioningmag.com/60849. (in Thai)

Silpcharu, T. (2012). Research and analyze statistical data with SPSS and AMOS (13th ed.). Business R&d. (in Thai)

Sinwatthanāwong, C., Čhanyānon, O., & Hirunrak, S. (2016). The need of adult student in studying piano: a case study KPN music academy. Rangsit Music Journal, 11(2), 37-48. (in Thai)

Suksot, T. (2001). Industrial product design. Odeon Store. (in Thai)

World Health Organization. (2017). Promotion mental health: concepts-emerging evidence–practice summary report. Author (in Thai)