การออกแบบผลิตภัณฑ์ช่วยอำนวยสมรรถภาพผู้สูงวัย อุปกรณ์ช่วยเดินขึ้นลงบันได

Main Article Content

สมชาย ดิษฐาภรณ์

บทคัดย่อ

การออกแบบผลิตภัณฑ์ช่วยอำนวยสมรรถภาพผู้สูงวัย อุปกรณ์ช่วยเดินขึ้นลงบันไดนี้ เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงวัยที่เดินขึ้นลงบันไดได้ไม่สะดวกเนื่องจากอาการปวดเข่า ออกแบบพัฒนาตามกรอบทฤษฎีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ดี คือ การใช้สอยที่ดี ความสวยงาม ความสะดวกสบายในการใช้งาน ความปลอดภัย และความแข็งแรง ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านผู้สูงวัย 3 คน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงวัยในเขตยานนาวา ประกอบด้วย กลุ่มทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ในโรงเรียนผู้สูงวัย 30 คน และกลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงวัย แบบทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการออกแบบได้ผลิตภัณฑ์ที่มีระดับความสูงที่วางเท้าอุปกรณ์น้อยกว่าขั้นบันไดปกติ คือไม่เกิน 15 เซนติเมตร สอบถามเลือกรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและข้อเสนอแนะโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.03, S.D. = 0.55) หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับมาก สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีระดับความสูงของที่วางเท้าต่างกัน คือ 11, 13 และ 15 เซนติเมตร ทดสอบการใช้งานและประเมินความพึงพอใจ ผลการทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ พบว่ากลุ่มผู้สูงวัยที่ยกขาไม่สะดวกหรือปวดเข่าเมื่อใช้บันได ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีความสูงของระดับที่วางเท้า 13 เซนติเมตร ใช้เวลารวมเดินขึ้นและลงบันไดน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 20.79, S.D = 2.26) หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด ผลประเมินความพึงพอใจ พบว่าความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมทุกด้านตามกรอบทฤษฎีการออกแบบ (gif.latex?\bar{x} = 4.12, S.D = 0.19) หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ดิษฐาภรณ์ ส. (2022). การออกแบบผลิตภัณฑ์ช่วยอำนวยสมรรถภาพผู้สูงวัย อุปกรณ์ช่วยเดินขึ้นลงบันได . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), 67–78. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/247935
บท
บทความวิจัย

References

Amput, P., & Wongphon, S. (2020). Effect of coconut-shell-stepping exercise on balance ability of elders. Srinagarind Medical Journal, 35(2), 199-202. (in Thai)

Antonio, P. J., & Perry, S. D. (2014). Quantifying stair gait stability in young and older adults with modifications to insole hardness. Gait & Posture, 40(3), 429-434.

Bureau of Environmental Health. (2015). Providing an environment suitable for the elderly. Veterans Relief Organization. (in Thai)

Charungchitsunthon, W. (2005). Theory and concept of design. Appa. (in Thai)

Department of Mental Health. (2013). 5 Dimensions of guide to happiness for the elderly (6th ed.). Agricultural Cooperative Association of Thailand. (in Thai)

Egwutvongsa, S. (2016). thinking for industrial product development. Mean Service Supply. (in Thai)

Jarutach, T., Kespichayawattana, J., Lormaneenopparat, S., & Sirisuk, K. (2005). The minimum standard of environment and housing for Thai elderly. Thailand Research Fund. (in Thai)

Muangmool, J. (2018). The knee osteoarthritis pain level of elderly. Journal of Disease Prevention and Control: DPC. 2 Phitsanulok, 5(2), 60-67. (in Thai)

National Statistical Office. (2018). Report on the 2017 survey of the older persons in Thailand. Text and Journal Publication. (in Thai)

Peters, S. (2013). Human and design. Odeon store. (in Thai)

Saributra, A. (2006). Industrial design technology. Odeon store. (in Thai)

Silpcharu, T. (2020). Research and statistical analysis with SPSS and AMOS (8th ed.). Business R&D. (in Thai)

Suksod, T. (2001). Industrial product design. OS Printing House. (in Thai)