หัตถกรรมไม้ตาลภาคกลาง : การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการผลิต และการพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของงานหัตถกรรมไม้ตาลภาคกลาง ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านกระบวนการผลิตงานหัตถกรรมไม้ตาลภาคกลาง และพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้ตาลภาคกลางเพื่อเพิ่มคุณค่าทางวัฒนธรรมและมูลค่าเชิงพาณิชย์โดยการมีส่วนร่วมชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 166 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ จำนวน 30 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 56 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ นำเสนอข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ประวัติความเป็นมางานหัตถกรรมไม้ตาลภาคกลางพบว่า เกิดขึ้นที่ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ในส่วนของภูมิปัญญาพื้นบ้าน พบว่า ด้านประเภทของงานไม้ตาลเป็นงานกลึง ด้านลักษณะของประโยชน์ใช้สอยพบว่าผลิตเป็น ครก สาก จานรองแก้ว เป็นต้น ด้านรูปแบบพบว่าทำตามความต้องการของลูกค้า ด้านลวดลายพบว่าใช้ลวดลายไทย ด้านวัสดุพบว่าใช้ไม้ตาลที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ด้านเครื่องมือใช้เครื่องกลึงและอุปกรณ์งานกลึงไม้ ด้านการบำรุงรักษาพบว่า มีการดูแลรักษาเครื่องมือกลึงไม้อยู่เสมอ ด้านกระบวนการผลิตพบว่าใช้วิธีการกลึงให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ และด้านการอนุรักษ์พบว่ามีการรักษารูปแบบดั้งเดิม ในส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ตาลพบว่าพัฒนาเป็นรูปแบบโคมไฟไม้ตาลลวดลาย 12 นักกษัตรเขียนลายรดน้ำ และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคพบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Champathong, S. (2019). Interview, July 18.
Chantavanich, S. (2004). Qualitative research methods. 12th ed. Bangkok: Chulalongkorn University. 129-130. (in Thai)
Petpaow, P. (2014). The Process of the creative economy to raise OTOP products to the international level of tambol Don Tum, Banglen district, Nakhonpathom province. Veridian E-Journal. 7(1), 375. (in Thai)
Deeboonme Na Chumphae, S. (2007). Designing resulting from technology. Bangkok: Odeon store. 49. (in Thai)
Tangcharoen, W. (2004). Postmodern art. Bangkok: E and IQ. 62. (in Thai)
Kerdpum, O. (2008). An analytical study of palm wood products in Phetchaburi. M.A. (Art Education), Bangkok: Graduate School. Srinakharinwirot University. 227. (in Thai)
Chamchan, C., & Boonyamanond, S. (2013). Roles of creative economy for community and social development in Thailand. Development Economic Review. 7(1), 111. (in Thai)
Leunam, S. (2012). A development decoration motif on pottery of Huivungnong for added value. (Report). Loei Rajabhat University. (in Thai)