องค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากไม้สัก ในบริบทการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

Main Article Content

อฏฐม สาริบุตร
อุดมศักดิ์ สาริบุตร
เอื้อมอัมพร เพชรสินจร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จากไม้สักในบริบทการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 2) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากไม้สักในบริบทการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) และเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างด้านข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากไม้สัก และเก็บข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ศึกษา สังเกต สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และศึกษาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในลักษณะการบรรยาย เชิงพรรณาผู้วิจัยทำการลงพื้นที่ชุมชนในเขตพื้นที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่มรดกโลก คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยปรากฏแหล่งชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้หลายกลุ่มชุมชน และหลากหลายผลิตภัณฑ์


ผลการศึกษา พบว่า หน่วยงานภาครัฐ ต้องการส่งเสริมให้ชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืน โดยอาศัยความถนัดของตนเอง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงศึกษา และพบกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ไม้สัก จำนวน 5 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก 2. กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากรากไม้ 3. กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ 4. กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน และ 5. กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก แต่ผู้วิจัยสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ ได้แก่ กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน และกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผู้วิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อถ่านทอดองค์ความรู้ คือ เฟอร์นิเจอร์ประเภทชั้นวางรองเท้า โต๊ะพับ และโคมไฟ 4 ชนิด จากนั้นผู้วิจัยจัดทำเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน และสรุปได้ว่า ชุมชนจะต้องนำไม้สักมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะคุ้มค่ามากที่สุด ควรเพิ่มเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมถึงควรบูรณาการกันระหว่างชุมชน ในการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น มาใช้ร่วมกันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เกิดมูลค่าเพิ่ม และเกิดความยั่งยืน

Article Details

How to Cite
สาริบุตร อ., สาริบุตร อ., & เพชรสินจร เ. (2021). องค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากไม้สัก ในบริบทการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 68–79. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/245449
บท
บทความวิจัย

References

Peters, S. (2007). Human and Design. Bangkok: Odeone Store. 2-4. (in Thai)

Saributr, U., Saributr, A., & Petsinchorn, A. (2017). “Community Product Design from Teak Wood in World Heritage Site Sukhothai Province.” DRLE 2017 Proceeding. 7, 444-452. (in Thai)

Saributr, U., & Peters, S. (2012). “Design Research for Enabling Sustainable Community Development.” Humanities and Social Sciences Review. 1(2), 335-339.

Saributr, U., Aekwuttiwongsa, S., Peters, S., & Petsinchorn, A. (2014). “Participatory Design Research Strategies and Approaches for Cultural Heritage Safeguarding: a Case Study of Communities in World Heritage Sites in Sukhothai Province.” DRLE 2014 Proceeding. 4, 353-362. (in Thai)

Cha-umngarm, W. (2015). “Futher Research into the Lotus-bud Style Chedi of Thailand.” Damrong Journal. 14(1), 149-168. (in Thai)

Walker, S. (1998). “Experiments in Sustainable Product Design.” The Journal of Sustainable Product Design. 7, 41-50.

Charter, M., & Tischner, U. (2001). Sustainable Solution: Developing Products and Services for the Future. Sheffield. UK: Greenleaf Publishing. 118-138.

Wanichakorn, A. (2016). Local Product Design. Bangkok: Chulalongkorn University Press. 57-61. (in Thai)