ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้งานกลุ่มเครื่องมือปากกาและการดราฟภาพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

ปทุมพร อนุสิทธิ์
สมเกียรติ ตันติวงศ์วาณิช
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง การใช้งานกลุ่มเครื่องมือปากกาและการดราฟภาพที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้งานกลุ่มเครื่องมือปากกาและการดราฟภาพที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ เรื่อง การใช้งานกลุ่มเครื่องมือปากกาและการดราฟภาพ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 2) บทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้งานกลุ่มเครื่องมือปากกาและการดราฟภาพ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.55, S.D. = 0.35) 2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (E1/E2) เท่ากับ 78.52/81.07 3) บทเรียนอีเลิร์นนิงมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.64, S.D. = 0.33) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.67, S.D. = 0.41) 4) ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง (E1/E2) เท่ากับ 78.15/82.22 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิงสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อนุสิทธิ์ ป., ตันติวงศ์วาณิช ส., & กันตาธนวัฒน์ ฐ. (2021). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้งานกลุ่มเครื่องมือปากกาและการดราฟภาพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(1), 19–29. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/243444
บท
บทความวิจัย

References

Wonglaka, F. (2010). Online learning, new teaching and learning style in the IT generation. [online]. Available: http://social.obec.go.th/node/79 Retrieved October 2, 2019. (in Thai)

Moolkum, S. (2016). Creative teaching strategies. 5th ed. Bangkok: Parbpim. 9-13. (in Thai)

Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D.2008). [online]. Available: http://lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CABCU_PAMPHELT/DRAWER01/GENERAL/DATA0000/00000218.PDF Retrieved May 4, 2019. (in Thai)

Ruchaiphanit, W., & Chimpalee, K. (2016). Future of the classroom, changing teacher to coach. Bangkok: SE-Education. 1-3. (in Thai)

Karo, D. (2019). Revolution teaching to the classroom 4.0 with google for education. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 45. (in Thai)

Office of the Vocational Education Commission. (2019). 2019 Curriculum for the certificate of Vocational education, Department of commerce, Business computer program. [online]. Available: http://bsq.vec.go.th/Portals/9/Course/20/2562/20200/20204v2.pdf Retrieved August 2, 2019. (in Thai)

Office of the Vocational Education Commission. (2008). Guidelines for vocational courses. [online]. Available: http://bsq2.vec.go.th/document/doc6.html Retrieved August 2, 2019. (in Thai)

Ruchaiphanit, W., & Jandee, K. (2013). Handbook of teaching design in the 21st century. [online]. Available: http://www.eqd.cmu.ac.th/Innovation/media/old/2559/2559_06_07-08-Creative/CBL21_handbook.pdf Retrieved October 14, 2019. (in Thai)

Silrungtham, S. (2015). Techniques for writing a professional health education learning plan. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group. 165-168. (in Thai)

Brahmawong, C. (2013). “Developmental Testing.” Silpakorn Educational Research Journal. 5(1), 7-19. (in Thai)

Tiantong, M. (2005). Design and development of software for computer assisted instruction. Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok. 131-136. (in Thai)

Teeranatanakul, P., Kiattikomol, P., & Yampinij, S. (2011). E-learning courseware development techniques. Bangkok: Bangkok Supplementary Media Center. 197-204. (in Thai)

Tangdhanakanond, K. (2016). Measurement and evaluation of practice skills. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 4-5. (in Thai)

Leekitchwatana, P. (2016). Research methods in education. 11th ed. Bangkok: Mean Service Supply. 299. (in Thai)

Srisutham, W. (2019). “The development of students’ creative problem solving and learning achievement of 10th grade students by creativity based learning approach.” Master’s thesis, Rajabhat Maha Sarakham University, 84-87. (in Thai)

Yamareng, U. (2017). The instruction by research-based learning (RBL) on curriculum and Instruction in Islamic education course in master of education program in teaching Islamic education 2559. (Report No. 2017-08). Yala Rajabhat University. (in Thai)

Wongdee, W. (2018). “The development of e-learning using transactional strategies instruction and the automatic applications grader system on c language programming for grade 10 students at Takpittayakhom School.” Master’s thesis, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 103-107. (in Thai)

Keawkerd, P. (2013). “The development of e-learning use of computers in business Rajamangala University of Thecnology Krungthep.” Rajamangala University of Technology Krungthep Research Journal. 7(1), 17-19. (in Thai)

Kaewdok, P. (2019). “A study of the learning achievement and scientific creative thinking of tenth grade students, using creativity-based learning (CBL) : mixed-method research.” Journal of Educational Measurement Mahasarakham University. 25(1), 206-224. (in Thai)