การศึกษาความสามารถในการพิสูจน์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์ และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra

Main Article Content

ปัญญาพร เชื้อมั่ง
ขวัญ เพียซ้าย
สุกัญญา หะยีสาและ
ธีรศักดิ์ ฉลาดการณ์
เอนก จันทรจรูญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการพิสูจน์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จํานวน 40 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบ Z (Z-test for Population Proportion) และสถิติทดสอบ t (t-test for Dependent Sample) และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้และแฟ้มงานในโปรแกรม GeoGebra ตามวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ เรื่องเส้นขนาน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการพิสูจน์ เรื่องเส้นขนาน และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการพิสูจน์ เรื่องเส้นขนาน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 ของจํานวนนักเรียนทั้งหมดที่ระดับนัยสําคัญ .01 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ระดับนัยสําคัญ .01

Article Details

How to Cite
เชื้อมั่ง ป., เพียซ้าย ข., หะยีสาและ ส., ฉลาดการณ์ ธ., & จันทรจรูญ เ. (2020). การศึกษาความสามารถในการพิสูจน์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างข้อความคาดการณ์ และพิสูจน์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 40–49. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/240570
บท
บทความวิจัย

References

Archara Pacheenburawana. 2014. Mathematics for science. Bangkok: Thammasat University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. 2016. Basic mathematics. 5th ed. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Marasri Naewchampa. 2009. Normal Mathematics Teaching. Thai Science and Technology Journal, (96), p. 38-40.

Office of the Royal Society. 2011. Royal Institute Dictionary. Retrieved June 12, 2020, from http://www.royin.go.th/dictionary/

Panthong Gullanartsiri. 2013. Teaching Geometry at the elementary level in the 21st century. Journal of the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, 26(102), p. 3.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. 2013. Documents for Trainees, Distance Training Program for Teachers in Mathematics at Primary Level, Standard Curriculum for Teacher Training, Year 3 (Revised version). Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (Brochure).

Somsong Suwapanich. 2010. Geometry ... Amazing Science. Journal of Education, 7(1), p. 33.

Trairong Klumbut. 2014. The Development of Activity Packages to Enhance Reasoning Ability on Reasoning about Triangle and Quadrangle for Mathayomsuksa 3 Students. Master of Education (Science Education), Naresuan University.

Thamarut Kreethathorn. 2015. The Effects of Mathematics Proving Activities in the Topic of Parallel Lines on Mathematics Learning Achievement and Mathematics Resoning of Mathayom Suka II at Chumchonwadsainoi School in Nonthaburi Province. Master of Education, Sukhothai Thammathirat Open University.

Sathapana Bonmark. 2015. The Effects of Concept Attainment Model on Mathematical Concept and Reasoning Ability in Parallel Lines of Mathayomsuksa II Students. Phetchabun Rajabhat Journal, 17(1), p. 21-32.

Natchailai Prinkmadee. 2001. A Study of Mathematics Concepts Parallel Lines of Lower Secondary School Students. Master of Education (Mathematics Education), Chulalongkorn University.

Morselli, F. 2006. Use of examples in conjecturing and proving: An exploratory study. International Group for the Psychology of Mathematics Education, 4, p. 185.

Aricha-Metzer, I. and Zaslavsky, O. 2017. The nature of students’ productive and non-productive example-use for proving. The Journal of Mathematical Behavior, 53, p. 304.

Nguyen, D. N. 2012. The Development of the Proving Process Within a Dynamic Geometry Environment. European Researcher, 32(10-2), p. 1731-1744.

Lin, F.L., et al. 2011. Principles of Task Design for Conjecturing and Proving. Proof and Proving in Mathematics Education, p. 305-325. Dordrecht: Springer.

Chanya Uthit. 2014. Effects of Organizing Learning Activities on “Linear Programming” Supplementing Mathematical Skills and Processes by Using The GeoGebra for Mathayomsuksa Six Students at Samutsakhonburuna School, Changwat Samut Sakhon. Master of Education (Teaching Mathematics), Kasetsart University.

Pongsak Wuttisan. 2013. GeoGebra is another interesting option for math teachers. IPST Magazine, 41 (181), p. 13-16.

Munnanicha Kamkaew. 2017. A Study of Learning Achievement on Relations Between Two-Dimensional Geometric Figures and Three-Dimensional Geometric Figures of Mattayomsuksa 1 Students Using Cooperative Learning STAD Technique and GeoGebra Program. Master of Education (Mathematics Education), Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Veeris Kittivarakul. 2018. A Study of Mathayomsuksa III Students’ Conceptual Knowledge and Proof Abilities on Circle Via Conjecturing and Proving Method with GeoGebra Program. Master of Education (Mathematics Education), Srinakharinwirot University.

Yupin Pipitkul. and Preecha Naoyenphon. 1994. "The proven teaching model" in the subject matter syllabus Nitty-gritty and mathematical methods, units 8-11. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.