การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 - 0.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า t-test for Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการใช้เทคนิคจิกซอว์ เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาพรวมด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (= 4.50, S=0.35) และมีคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (
= 4.27, S=0.47) 2) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.85 / 85.70 เป็นไปตามเกณฑไม่ต่ำกว่า 80 / 80 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการใช้เทคนิคจิกซอว์เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Ministry of Education. 2001. The Basic Education Curriculum 2001. Bangkok: Kurusapa Ladprao Publishing.
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. 2008. Guidelines for curriculum management according to the core curriculum of basic education (A.D. 2008). Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
Thanopporn Laohajaratsang. 2001. Design Web-Based Instruction and creation for distance education on the Internet. Bangkok: Arun Kanphim.
Thiraphong IamYoung. 2002. Teacher readiness and lesson creation through the web. Thapkaew technology.
Wimonrat Soonthornroj. 2002. Learning innovation. Department of Formulas and Teaching, Faculty of Education, Mahasarakham University.
Seel & Glasgow. 1998. Exercise in Instructional Design. Merrill Publishing Company Bell & Howell Information Company, Columblus, Ohio 4321.
Pairoj Treerana Thanakul.,et al.2011.Techniques for producing self-learning lessons for distance education on the Intnet. Bangkok: Bangkok Media Center.
Chaiyong Brahmawong. 2013. Development testing of media and instructional package. Silpakorn Educational Research Journal,5(1), p.7-19.
Bloom, B.S. Taxonomy of Educational Objectives. New York : David McKay Company.
Monchai Tiantong. 2005. Design and development of software packages for computer-assisted instruction. 3rd ed. Bangkok : Academic Coursebook Center, King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Sujirat Tungjitchokchail. 2015. Development of Web-Based Instruction of Data Communications fo Computer Network for Grade 10 Students. Master of Science in Science Education(computer) Faculty of Industrial Education ,King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
Phapapan Kaewmhuen. 2015. A Deverlopment of Web- based Instruction Based on cooperative Learning Using Jigsaw Technique on Data Communications for Grade 10 students. Bangkok : Master of science. Faculty of Industrial Education, King mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
Kajonwut Maneechai. 2016. A Development of Web-based Instruction Based on Cooperative Learning Using Jigsaw Technique on Universe for Grade 9 students. Journal of Industrial Education, 15(2), p.41-47.