การศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด (Combinatorics) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

Main Article Content

ศราวุฒ เพชรอินทร์
ชิรา ลำดวนหอม
ขวัญ เพียซ้าย
เอนก จันทรจรูญ
สุกัญญา หะยีสาแล
วิศรุต โพธิ์อ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเสนางคนิคม ตำบลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 40 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด ให้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 2 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที การประเมินผลการเรียนรู้ประเมินจากคะแนนจากการทำแบบทดสอบย่อยจำนวน 2 ฉบับ และแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้จำนวน 1 ฉบับ นอกจากนี้ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
เพชรอินทร์ ศ., ลำดวนหอม ช., เพียซ้าย ข., จันทรจรูญ เ., หะยีสาแล ส., & โพธิ์อ้น ว. (2019). การศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง คณิตศาสตร์เชิงการจัด (Combinatorics) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(2), 101–109. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/190279
บท
บทความวิจัย

References

Smith, C. E. 2007. On students' conceptualizations of combinatorics: A multiple case study. University of Minnesota.

Somchai Prasitjutrakul. 1999. Discrete mathematics. 3rd. Bangkok: National Electronics Technology and Computer Center.

Sriraman, B. and English, L. D. 2004. Combinatorial Mathematics: Research into Practice. The Mathematics Teacher, 98(3), p. 182-191.

Schielack, J. F. 1991. Primary experiences in learning what (as well as how) to count. Discrete mathematics across the curriculum, K-12, p. 44-50.

Lee, P. Y. 2006. Teaching secondary school mathematics: A resource book. Singapore: McGraw-Hill.

Grailurk Phonpa. 2008. Mathematical Laboratory Activity Packages to Prevent the Misconceptions on “Permutations” of the First Year Vocational Certificate Students. Master’s Project, M.Ed. (Secondary Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Clements, D. H. 1997. (Mis?) constructing constructivism. Teaching children mathematics, 4(4), p. 198.

Jonassen, D. H. 1991. Evaluating constructivistic learning. Educational technology, 31(9), p. 28-33.

Driscoll, M. P. 1994. Psychology of learning for instruction. Boston: Allyn and Bacon.

Tisana Kaemmanee. 2014. Teaching strategies to the efficient learning process. 18th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Driver, R. and Bell, B. 1986. Students' thinking and the learning of science: A constructivist view. School science review, 67(240), p. 443-456.

Murphy, E. 1997. Constructivism: From Philosophy to Practice. 1st ed. Eric.

Surang Kowtrakul. 2010. Education of Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University.

Lamai Kaewsawan. 2015. Effects of Learning Activities Based on Constructivist Approach to develop Achievement and Creative Thinking in Mathematics of Grade 6 Students. Master Thesis, M.Ed. (Research and Development on Human Potentials). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Lappan, G., &Schram, P. W. 1989. Communication and reasoning: Critical dimensions of sense making in mathematics. In New Directions for Elementary School Mathematics. (pp. 14-30). Reston, Virginia: The Nation Council of Teachers of Mathematics.

Sunisa Pamad, et al. 2018. Effects of Constructivism Concept Learning Style to Mathematics Achievement on Indices of Mattayomsuksa 1 Students. Journal of Education Research, Srinakharinwirot University, 13(2), p. 184-193.

Nueangnit Chaonahi, et al. 2011. Developing Mathematics learning Activities Based on the Constructivist Theory Entitled “Fractions” for 6th Grade Education. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 5(1): January-April 2011, p. 163-174.

Powell, K. C., & Kalina, C. J. 2009. Cognitive and social constructivism: Developing tools for an effective classroom. Education, 130(2), p. 241-251.

Hemphill, S. S. 2011. Social constructivist learning, sense of community, and learner satisfaction in asynchronous courses. Capella University.