ปัจจัยด้านองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานในบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด

Main Article Content

เบญจมาศ สะการัญต์
มนัส ไพฑูรย์เจริญลาภ
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด 2) ศึกษาปัจจัยด้านองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยขนาดตัวอย่าง 370 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน โดยมีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า


1. ระดับพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานในบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก


2. กิจกรรม 5 ส. การฝึกอบรม ค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานในบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ร้อยละ 61.1

Article Details

How to Cite
สะการัญต์ เ., ไพฑูรย์เจริญลาภ ม., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2014). ปัจจัยด้านองค์การที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอุตสาหกรรมของพนักงานในบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 117–124. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/173212
บท
บทความวิจัย

References

[1] คงวุฒิ ยอดพยุง. 2551. การจัดการของเสียตสาหกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีในนิคมอุตสาหกรรมบางปูกรณีศึกษา บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[2] กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). การจัดกากอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.).

[3] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

[4] อำนวย เดชชัยศรี. 2543. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา. วารสารข้าราชการครู, 19(4), น. 12-18.

[5] Vroom, V. H. 1964. Work and motivation. New York: Wiley.

[6] มาระตรี ตาสำโรง. 2554. ความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของพนักงานระดับหัวหน้างาน บริษัท นิคอน (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10 (ฉบับพิเศษ), น. 89-96.

[7] ธวัชชัย สายน้ำ. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และเจตคติเกี่ยวกับระบบการบริหารคุณภาพISO/TS16949:2009 ของพนักงานควบคุมคุณภาพบริษัท เอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด มาใช้ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรมบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.