การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 3 ) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 46 คน โดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุก 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) 4) แบบสอบถามปลายเปิด (Opened Form Questionnaire) 5) การเขียนอนุทิน 6) แบบสังเกตทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบการหาคุณภาพเครื่องมือมีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50-1.00 วิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


1) การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ ด้านพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ และด้านความเครียดในการเรียน มีค่าเท่ากับ 4.25 (0.42) อยู่ในระดับค่อนข้างสูง


2) ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ และความเครียดในการเรียน มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ทักษะการสื่อสาร (Communicative Skills) ทักษะการทำงานอย่างร่วมพลัง (Collaborative Skills) และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ (Computing Skills)


4) ความพึงพอใจเกี่ยวกับที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นครู ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ค่าเท่ากับ 4.51 (0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แก้วกงพาน ด. (2018). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 118–127. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/171932
บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of the Education Council. 2001. Reform of Higher Education According to the National Education Act, 1999. Bangkok: V.T.C. communication limited partnership.

[2] Tippawan Sukjairungwattana and Thirasak Unaromlert. 2010. A Study of Factors Influencing to well Learning Behavior of Mathayomsuksa 3 Students under office of the Private Education Commission in NakhonPathom Province. Silpakorn educational research journal, 1(2), P. 126-139.

[3] Tisana Khammani. 2004. Science teaching: knowledge in order to provide an effective learning process. Bangkok: Chulalongkorn University Print Bureau.

[4] Sukont Sindhvananda, et al. 2002. The learning process: the learner as important as the curriculum for basic education. Bangkok: Aksorn Charoenthat Company Limited.

[5] Pradinan Uparamai. 1997. Foundations of Education (Chapter 4: Human and Learning) 15th Edition [Online]: Nonthaburi. Available. http://web.aru.ac.th/thanee/images/stories/word/learning123.pdf

[6] Pimpan Dechakoop and Payao Yindeesuk. 2015. Learning Management in 21st Century. 2nd Edition. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

[7] Samrit Kangpeng. 2017. Curriculum and Instruction Management. 2nd Edition. Mahasarakham: apichart printing.

[8] Vicharn Panit. 2012. The way to create learning for the disciple in 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saridwongso Foundation.

[9] Division of Educational Research. 2001. Strategies for teaching and learning in accordance with learning methods (Learning Style). Bangkok: Council Printing.

[10] Pimphan Dechacoop and Payao Yindeesuk. 2018. Active Learning Integrated with PLC For Development. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

[11] Royal Society of Thailand. 2015. Dictionary of Contemporary Studies, Edition of Royal Society of Thailand. Bangkok: Royal Society of Thailand.

[12] Royal Society of Thailand. 2012. Dictionary of Education, Edition of Royal Society of Thailand. Bangkok: Aroon Printing.

[13] Creswel lJ.W., Plano Clark V.L. 2007. Designing and conducting mixed methods research. Thousand Oaks, CA: Sage Publication.

[14] Puangrat Taveerat, 2000. Research Methods in Behavioral Science and Social Sciences: 7th Edition. Bangkok: Educational and Psychological Test Bureau, Srinakharinwirot University.

[15] Chamnan Dankam, et al. 2016. The Study Of Bachelor Degree Undergraduates' Learning Behavior, Rajabhat Maha Sarakham University. Journal of Nakhonratchasima College,10(1),P23-31.

[16] Meyers, Chet, Jones, B. Thomas. 1993. Promoting active learning (first edition ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

[17] Puttiwan Chuangpitak ,Thiyaporn Kantathanawat and Pariyaporn Tungkunanan. 2017. Development of flipped classroom with active learning learning via e-learning in presenting information u sing technology for high school. Journal of industrial Education,16(2), P.89-114.

[18] Sweller, J. 2006. The worked example effect and human cognition: Learning and Instruction. New Jersey: Educational Technologies.

[19] Office of the Royal Society. 2015. Dictionary of Contemporary Educational Terminology. Bangkok: Office of the Royal Society.

[20] Noawanit Songkram. 2012. The Development of integrated instructional model with proactive learning to create knowledge and ability to solve creative problem for undergraduate students in public higher education institutions. Research Grants, Chulalongkorn University.

[21] Bonwell, C.C and Eison, J. 1991. Active Learning: Creating Excitement in the Classroom ASHE-Eric Higher Education Report No.1. Washington, D.C :The George Washington University. School of Education and Human Development.

[22] Bureau of Academic Affairs and Educational Standards, Office of the Basic Education Commission. 2017. Project of Active Learning in the selection and praise of teachers who create learning power. (Active Teacher Award). Bangkok : Mimeographed.

[23] Sukon Sintapanon. 2017. New Teachers with Learning Education 4.0. Bangkok : 9119 Technic Printing Limited Partnership.

[24] Veena Prachagool and Prasart Nuangchalerm. 2016. Teaching Style3rd Edition. Khon Kaen: klungnana wittaya printing.