การศึกษาปัจจัยและภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์

Main Article Content

สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์
กมลรัตน์ อัตตปัญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยและภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ในปัจจุบัน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 28 ปีขึ้นไป เข้าชมงานแสดงสินค้าเมืองทองธานี จำนวน 50 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล 2) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นของศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานไม้ไผ่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ จำนวน 3 ท่าน โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จำนวน 3 ท่าน ใช้แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า จุดประสงค์หลักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คือ เพื่อนำกลับไปใช้เอง โดยมองคุณค่าของเครื่องจักสานที่ลวดลายความงาม ปัจจัยด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (gif.latex?\bar{x}=4.82) (S.D.=0.48) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จำนวน 3 ท่าน สรุปได้ว่ากระเป๋าสะพาย มีความเหมาะสมกับลายจุด ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}=4.75) (S.D.=0.36) กระเป๋าหูหิ้ว มีความเหมาะสมกับลายใบไผ่ ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}=4.83) (S.D.=0.33) และกระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์ มีความเหมาะสมกับลายดอกไม้ ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}=4.92) (S.D.=0.17)

Article Details

How to Cite
บุรีคำพันธุ์ ส., & อัตตปัญโญ ก. (2019). การศึกษาปัจจัยและภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 100–108. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/157163
บท
บทความวิจัย

References

Lisuwan, W,1998. Thai Wicker. Bangkok: The Teachers Trade Organization.

Committee on Documentation and Archives. 2001. Historical developmental culture Identity and Wisdom Chonburi province. Bangkok: Ministry of Interior: Ministry of Education: Silpakorn University.

Jiarakul, T, 2012. Consumer Behavior and Decision Making Factors Bamboo's consumers in the Northeast. Ubon Ratchathani: Journal of the Humanities and Social Sciences Ubon Ratchathani University, 3(1), p.43-62.

Sareerat, S, 2007. Consumer Behavior. Bangkok: The Teera Film and Cigarette Company Limited.

Thanyasrisasikul, S, 1986. Design Patterns. 2nd edition. Bangkok: Odeon Store.

Phengsawat, W, 2008. The Third Research Methodology. Bangkok: Suveeriyasan.

Srisaart, B. 1992. Principles of research. 3rd edition. Bangkok: Suviriyasat.

Wongsingtong, P, 2007. Research Methodology of Product Design. Bangkok: Chulalongkorn.

Rojanakorn, A. 2015. Study and design of wooden surface patterning device. Thermal printing technique Case study: Application of local pattern. Academic Journal Architecture Naresuan University, 6(1), p.90-98.

Sikka, S, 2015. Bamboo Handicrafts Development in Northeast Thailand. Academic Journal Architecture Naresuan University, 6(1), p.110-120.

Phecharat, K, 2018. Conservation and creation of woven basketry handicrafts by bamboo woven handicraft center In Phanat Nikhom Chonburi province Veridian E-Journal, Silpakorn University, Thai version, Humanities, Social Sciences and Arts, 11(1), p.198-212.

Budwiangphan, C, 2005. Study and development of bamboo packaging machines for Spa Business. Bangkok: King Mongkut 's Institute of Technology Ladkrabang

Rawdlert, C, 2010. Study and Design of Instructionof Pla Tapien : Palmleaf Woven Art and Craft. Journal of Industrial Education, 10(3), p.54-63.