ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน QueQ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน QueQ ด้านความถี่ในการใช้งาน 2) เปรียบเทียบการใช้แอปพลิเคชัน QueQ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ โดยอาศัยกรอบแนวคิดการวัดคุณภาพการให้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ผู้ที่ใช้หรือเคยใช้แอปพลิเคชัน QueQ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test, F-test, การวิเคราะห์ Least Significant Difference (LSD) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร กรณีที่มีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ ด้วยสถิติ Multiple Regression
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด อายุระหว่าง 20 - 25 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วงต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการใช้งานแอปพลิเคชัน QueQ เฉลี่ย 2.28 ครั้งต่อเดือน 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุเป็นปัจจัยส่วนบุคคลเพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อความถี่ในการใช้งานแอปพลิเคชัน QueQ นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับอายุแตกต่างกันมีความถี่ในการใช้งานแอปพลิเคชัน QueQ ที่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ย ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ และ 3) ผลการศึกษาการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุของคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ พบว่าปัจจัยด้านการรับประกันมีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ ในทิศทางทางบวก และปัจจัยด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อลูกค้ามีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ ในทิศทางทางลบ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ หากผู้ให้บริการมีการปรับปรุงการรับประกันเปลี่ยนแปลงบริการที่ดีขึ้น จะทำให้มีการใช้แอปพลิเคชัน QueQ เพิ่มขึ้น และลูกค้าปัจจุบันมีความพึงพอใจต่อความรวดเร็วในการตอบสนองต่อลูกค้าสูงอยู่แล้ว หากพัฒนาด้านนี้อีกโดยไม่สอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้บริการอาจจะส่งผลทางลบต่อการใช้แอปพลิเคชัน QueQ
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Zeithaml V. A., Parasuraman A., and Berry L. L. 1990. Delivering Quality Service - Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: The Free Press-A Diversion of Macmillan Inc.
[3] Parasuraman A., Zeithaml V. A., and Berry L. L. 1993. More on Improving Service Quality Measurement. Journal of Retailing, 61(Spring), p. 141-147.
[4] Serirat S., et al. 2003. Marketing Management. Bangkok: Dharmasarn.
[5] Magnamonkun. 2015. Thai Startup, launches "QueQ" the queue restaurant reservation system via smartphones. Retrieved September 18, 2017, from https://www.blognone.com/node/71126
[6] Vanichbuncha K. 2006. Using SPSS for Windows to Analyze Data. (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
[7] BMA Data Center. 2013. Number of Shopping Centers in Bangkok Classified by district for the year 2004-2013. Retrieved July 3, 2018, from http://203.155.220.230/bmainfo/esp/social/social_9.html
[8] Tumsurat S. 2011. Service Quality Factors Affecting Service Decisions and Brand Loyalty of Private Hospitals in Bangkok. Master of Business Administration, Graduate School, Bangkok University.
[9] Korbkarun, S. 2015. The Influences of Services Quality System Usage and User Satisfaction on User’s Net Benefits of Booking Hotel via Application of Students Private Universities in Bangkok. Master of Business Administration, Graduate School, Bangkok University.