การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะทางสังคมสำหรับเด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนวัดลาดพร้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาพฤติกรรมทางด้านทักษะทางสังคมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทักษะทางสังคมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และ 3) ลดปัญหาพฤติกรรมทางด้านทักษะทางสังคมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษโรงเรียนวัดลาดพร้าวการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 5 คน เป็นการวิจัยกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) A-B-A-B Design
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาพฤติกรรมด้านทักษะทางสังคมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ 1) ลุกขึ้น เดินไปมา 2) ไม่กล้าแสดงออก ชอบอยู่นิ่ง ไม่ชอบเข้าร่วมกิจกรรม 3) ไม่กล้าพูด พูดน้อยมาก หรือไม่แสดงอาการโต้ตอบเมื่อมีผู้มาสนทนา 4) ร้องไห้ เอาแต่ใจตัวเอง 5) ไม่รู้จักรอคอย 6) ไม่ชอบแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น 7) หยิบสิ่งของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต 8) หงุดหงิดง่ายเมื่อไม่พอใจ 9) ก้าวร้าว ทำลายสิ่งของเมื่อมีอารมณ์โกรธ และ 10) โอบกอดผู้อื่น ติดใจผู้อื่น เดินตามผู้อื่นโดยไม่เหมาะสม
2. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนวัดลาดพร้าว พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็กและด้านการช่วยเหลือเด็กที่บ้านอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและด้านความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง
3. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่า ช่วยลดปัญหาพฤติกรรมทางด้านทักษะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 4 คน แต่เด็กอีก 1 คน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองไม่มีผลต่อการลดปัญหาพฤติกรรมทางด้านทักษะของเด็ก
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Issaree Khueansuwan. 2009. Designing the developmental enhancement program based on DIR for an Autistic child. Master of Nursing Science (Mental Health and Psychiatric Nursing). Chiang Mai University.
[3] Bureau of Supervision and Development of Education. 2000. Research in the classroom to Improve learning. Bangkok: Religion Printing.
[4] Gray, C., & Garand, J. D. 1993. Social Stories: Improving responses of students with autism with accurate social information. Focus on Autistic Behavior, 8, p.1–10.
[5] Heiman, G. W. 1995. Research Methods in Psychology. Boston: Houghton Miffin.
[6] Shaughnessy, J.J., Zechmeister , E.B., & Zechmeister, J.S. 2000. Research Methods in Psychology. 5th ed. Singapore: McGraw-Hill.
[7] Khuncharoen, W., Disathaporn, C., Boonthima, R., and Burasirirak, S. 2016. The Development of Guardians’ Partcipation Model in Education Activities of Secondary Demonstration School in Bangkok. Journal of Industrial Education, 15(3), p.75-81.
[8] Office of the National Education Commission. 2001. Development of a network for family education in Thai society. Bangkok: Dee Printing.
[9] Epstein, Joyce L. and other. 1997. School, Family, Community Partnerships: Your Hand book Action. Thousand Oaks: Corwin Press. [10] Limsila, P. 2007. A Guide to Autistic Child Care. Samut Prakan: Yuwaprasart Waithayopathum Hospital.