การศึกษาสร้างอัตลักษณ์สี เพื่อใช้ในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ของอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อนำเสนอการออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิภาค โดยใช้สีที่สะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นของอำเภอเมืองชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย จากแผนฟื้นฟูของภูมิภาค ศูนย์ผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปของจังหวัดชลบุรีสนับสนุนให้ประชาชนท้องถิ่นผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่น และค้นหาวิธีเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การศึกษานี้จึงค้นหาและวิเคราะห์คุณลักษณะของภูมิภาคจาก 18 ตำบลในพื้นที่นอกเมือง โดยแบ่งคุณลักษณะท้องถิ่นออกเป็น 3 องค์ประกอบ และเลือกภาพนำเสนอแต่องค์ประกอบมา 25 ภาพ ศูนย์ผลิตภัณฑ์โอทอปของชลบุรีได้แบ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและขึ้นทะเบียนไว้เป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องตกแต่ง ของใช้ในบ้าน และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ในการศึกษานี้ได้เลือกผลิตภัณฑ์มาทั้งหมด 10 ชนิด โดยเลือกจากแต่ละหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ หมวดละ 2 ชนิด แล้วนำมาเปรียบเทียบวิเคราะห์โดยประยุกต์การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์
ผลการศึกษาพบว่า เป็นไปได้ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยจัดให้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างเป็นองค์รวมและเป็นระบบ เพื่อประชาสัมพันธ์อัตลักษณ์ท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและเพิ่มมูลค่าตราสินค้าภูมิภาคผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เกิดอัตลักษณ์แบบองค์รวมและเสริมลักษณะเด่นให้ผลิตภัณฑ์ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Maesincee, S. 2558. Concept of Thailand 4.0. [online]. Retrieved from https://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf (October 5, 2018)
Chon Buri Province. 2558. [online]. Retrieved from https://www.chonburi.go.th/website/about_chonburi/about2 (October 5, 2018)
Seo, M. 2017. A Study of Urban Design Identity with Revitalized Idle Industrial Facilities Zone Case Study: Incheon Art Platform in Incheon Metropolitan City. Journal of Industrial Education, 16(1), p.87.
Moon, E. 2011. Color Design Book. Paju: Agbooks.
Seoul Metropolitan Government. 2013. Symbolic Seoul Color System. [online]. Retrieved 5 October 2018 from https://english.seoul.go.kr/wp-content/uploads/2013/12/Dancheong.pdf
Seo, M., Thongnopkhoon, T. and Kim, S. 2016. The Public Facility Design Guideline of Mueang Chon Buri District, Chon Buri: Comparative Study on Urban Design of Incheon Metropolitan City, Republic of Korea. Veridian E-Journal, International, 9(5), p.240-242.
Seo, M. 2016. Survey on the Local Colors of Mueang Chon Buri District, Chon Buri Province of Thailand. 2016 The Korea Association of Art & Design International Symposium . The Korea Association of Art & Design, p.98-102.
Kobayashi, S. 1991. Color Image Scale. New York: Kodansha International.
OTOP Products of Chon Buri Center. [online]. Retrieved 5 October 2018 from https://bestotopchonburi.com/home
Kunthonsap, K., Khiaomang, K. and Kim, S. 2017. Creative Environmental Friendly Coloration System for Design. Journal of Industrial Education, 16(1), p.114.